👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้
“การทำอะไรให้ได้อย่างต่อเนื่อง” รากฐานของมันคือ เรื่องของนิสัย เป็นการที่เรายอมลงทุน อดทำสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ที่เราต้องการให้นานมากพอ
ยิ่งทำบ่อย ทำสม่ำเสมอ สมองจะค่อย ๆ เรียนรู้ว่าสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญ และจะค่อย ๆ กลายเป็นนิสัย แล้วตรงนี้แหละ เราก็ปล่อยให้มันทำหน้าที่สร้างชีวิตที่เราต้องการให้ และนั่นหมายความว่าเราจะกลายเป็นแค่ผู้คุมเกม ให้นิสัยเป็นผู้เล่นเกมแทน
😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้
“การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนชีวิต”
สรุปหนังสือ เทคนิคทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ต่อเนื่อง เขียนโดย Tadaaki Kobayashi
- สาเหตุที่เราทำอะไรได้แป๊บเดี๋ยว แล้วก็เลิกทำ ไม่ได้เป็นเพราะว่าเราไม่มีความอดทน แต่แค่ยังไม่รู้จัก เทคนิคการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ต่อเนื่อง (การทำอะไรให้เป็นนิสัย)
- วิทยานิพนธ์ของนักวิจัยจาก Duke University กล่าวว่า พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนเรามาจากนิสัยส่วนตัวถึง 40%
- การกระทำของมนุษย์ทั้งหมดประกอบขึ้นจากกระบวนการ 3 ขั้น คือ “เริ่มต้น ดำเนินต่อ และ เลิก”
- ถ้าต้องการเปลี่ยนชีวิต ให้เริ่มต้นจากการเรียนรู้การสร้างนิสัย ตามด้วยทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ต่อเนื่อง จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ได้ ขอเพียงทำอย่างต่อเนื่องให้ได้นาน ๆ โดยไม่ละทิ้งกลางคันการมุ่งมั่น ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างการเชื่อถือไว้วางใจ
- ไม่ใช่ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เราสมควรทำอย่างต่อเนื่อง
- พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนเรามาจากนิสัยส่วนตัวถึง 40% (หาก 40% ของการกระทำเกิดจากนิสัย ก็จะเท่ากับว่าเกือบครึ่งหนึ่งของตัวเราถูกสร้างขึ้นจากนิสัย)
- นิสัยเป็นสิ่งที่สร้างชีวิตของเราขึ้นมา
- เมื่อสมองตีความว่าสิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งนั้นก็จะกลายเป็นนิสัย ซึ่งสมองตีความจากการที่สิ่งนั้นเกิดซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ครั้ง
- แก่นแท้ของนิสัย คือ หัวใจที่เชื่อมั่นในตัวเอง นิสัยก็คือ ความเชื่อมั่น
- การเชื่อมั่นว่า เราทำได้ ถือเป็นปัจจัยจำเป็นในการทำให้กลายเป็นนิสัย หรือหากต้องการเลิกนิสัยแย่ ๆ เราต้องเชื่อมั่นในตัวเองว่า เราเลิกได้
- นิสัย มีทั้งด้านบวกและลบ ฝึกตัวเองให้มีนิสัยด้านบวกติดตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และลดนิสัยด้านลบลง
- เหตุผลที่เราเพิ่มนิสัยด้านบวก แล้วลดนิสัยด้านลบไม่ได้เสียที เพราะเราไม่รู้ว่าทำอย่างไรให้พฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็นนิสัย
- โรงเรียนไม่มีเคยมีการสอนเราเลยว่า นิสัยที่แท้จริงคืออะไร
- การฝึกให้มีนิสัยด้านบวกติดตัวเยอะ ๆ และขจัดนิสัยด้านลบออกให้ได้มากที่สุด จะเป็นตัวแปรที่ช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้น
- วิธีรักษาความต่อเนื่องของสิ่งที่ทำอยู่ จนกลายเป็นนิสัย โดยการแบ่งขั้นตอนการทำให้เป็นนิสัยออกเป็น 3 ขั้นตอน
- เริ่มต้น (เริ่มนิสัยใหม่ ๆ ที่ดี)
- ดำเนินต่อ (รักษาการลงมือทำนั้นให้สม่ำเสมอ)
- เลิก (ละทิ้งนิสัยแย่ ๆ)
- การสร้างนิสัยด้านบวก = เริ่มต้น –> ดำเนินต่อ –> เลิก –> เริ่มต้น (วนซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นนิสัย)
- เราควรมุ่งเน้นไปยังช่วงเวลาที่ไม่ได้ลงมือทำ มากกว่าช่วงเวลาที่กำลังทำสิ่งนั้น ๆ เช่น การวิ่ง คนที่ไม่สามารถวิ่งได้ต่อเนื่อง เพราะมัวแต่คิดถึงวิธีวิ่งกับหนทางวิ่งไม่ให้เหนื่อย สิ่งที่ควรทำ คือ การจดจ่ออยู่แต่กับช่วงเวลาที่วิ่ง (ปัจจุบัน ขณะที่วิ่ง)
- ยิ่งคิดว่าจะเลิก ยิ่งเลิกไม่ได้
- เราจะเลิกนิสัยด้านลบ สิ่งจำเป็นสำหรับการลดละเลิกนิสัยด้านลบ คือ การเบี่ยงเบนความสนใจ
- การคิดหาสิ่งอื่นมาทำแทนได้ผลกว่าการครุ่นคิดว่า จะต้องเลิกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- การไม่วางมือหรือล้มเลิกไปกลางคัน คือหัวใจสำคัญ
- การเติบโตในแต่ละวันที่ไม่ได้มากมายอะไร แค่วันละ 1% เมื่อเวลาผ่านไป สามารถสร้างผลกระทบต่อชีวิตเราได้อย่างมหาศาล
- เทคนิค “การเริ่มต้น”
- ลดขั้นตอนในการเริ่มต้นลง จะทำให้เริ่มทำสิ่งนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ปกติมีขั้นตอนในการลงมือทำสิ่งนี้ 5 ขั้น ลองลดเหลือสัก 2-3 ขั้นดู
- จงเตรียมตัวแค่เท่าที่จำเป็นก็พอ
- ระหว่างทำ ให้หาอะไรที่ชอบทำไปด้วย เช่น ตอนวิ่ง ให้หาเพลง, podcast ที่ชอบฟังไปด้วย
- ไม่จำเป็นต้องทำเสร็จ 100% ลองเลิกที่ 80% ก็พอ อย่าฝืนตัวเอง ถ้าเหนื่อยก็หยุด
- ตั้งกฎเกณฑ์ในการเริ่มต้นให้ชัดเจน เพื่อลดการคิด ความสับสน ความลังเล ตอนจะเริ่มลงมือ
- วางเป้าหมายให้ต่ำลง จะช่วยให้กล้าลงมือทำมากขึ้น
- ลองปฏิบัติกับตัวเองเหมือนเป็นเด็กทารก ไม่ต้องล้ม ทำสิ่งที่ง่าย ๆ เป็นไปได้
- การหลับตา ทำสมาธิช่วยขจัดความฟุ้งซ่าน และทำให้เราเริ่มลงมือทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
- ย่อยเป้าหมายใหญ่ ให้เล็กลง
- กินช้างตัวใหญ่ทีละคำ ยิ่งซอยย่อยการลงมือทำได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเริ่มต้นได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
- เลือกทำเฉพาะ สิ่งที่สำคัญที่สุด แล้วทุ่มเทให้เต็มที่
- อุ่นเครื่องให้สมองด้วยการเริ่มทำงานง่าย ๆ ก่อน
- เวลาไม่มีกะจิตกะใจ ทำอะไร ให้ลองลงมือทำสิ่งนั้นสัก 1 นาทีดู
- ลองเปลี่ยนจากคำว่า ต้องทำ เป็น ลองทำดู
- กำหนดตารางสิ่งที่ต้องทำเอาไว้ล่วงหน้าคร่าว ๆ ช่วยสลายความกดดันเมื่อถึงเวลาต้องลงมือทำจริง
- เสียงดนตรีช่วยกระตุ้น อารมณ์ด้านบวก และนำไปสู่การลงเริ่มต้นลงมือได้
- เปิดเพลงก่อนเริ่มต้นทำ ทุกครั้ง ซ้ำ ๆ ต่อไปการเปิดเพลงจะเป็นเหมือนสวิตซ์ให้สมองเตรียมพร้อมสู่การลงมือทำ
- คิดถึงผลเสีย ผลลบ ของการไม่ลงมือทำ (มนุษย์เรามีชีวิตผูกติดอยู่กับความต้องการที่ว่า ไม่อยากสูญเสีย มากกว่าความต้องการที่ว่า อยากได้ อยากมี)
- ไม่มีขุมพลังใดที่จะผลักดันให้เราก้าวไปสู่ขั้นตอนของการลงมือ ได้ดีเท่ากับความรู้สึกลบ (ความแค้น ปม การถูกดูถูก)
- ใช้คำพูดของผู้ที่ประสบความสำเร็จ มาเป็นพลัง โดยการอ่านก่อนทุกครั้งที่จะเริ่มลงมือทำ
- สมองของคนเรามีนิสัย เชื่อในสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา ดังนั้น จงลงมือเขียน สิ่งที่อยากจะลงมือทำ
- ยิ่งเราหาเหตุผลได้มากเท่าไร เราก็จะลงมือปฏิบัติสิ่งที่ทำอยู่ต่อไปได้ง่ายขึ้น เช่น คนที่ทำงานด้วยเหตุผลว่าต้องการเงิน เมื่อเงินเดือนลดลงก็คงลาออกจากบริษัทโดยไม่รอช้า แต่คนที่ทำงานเพราะต้องการมอบความสุขให้ผู้อื่น โดยมีเงินเป็นเหตุผลรอง ย่อมไม่ลาออกจากบริษัทง่าย ๆ แม้เงินเดือนลดลง
- การสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง คือ การหาเหตุผลที่จะทำต่อ
- แม้สิ่งที่ทำอยู่ไม่เชื่อมโยงกับเป้าหมายในอนาคต แต่มันอาจเป็นประโยชน์ในด้านที่คาดไม่ถึงก็ได้
- หาเพื่อนที่ต้องการทำสิ่งหรือมีเป้าหมายที่เหมือน ๆ กัน งานวิจัยได้บทสรุปว่า “โรคอ้วนเป็นโรคติดต่อ” คือ หากอยู่กับคนอ้วน เราก็มีสิทธิ์ที่จะอ้วนตาม
- การคิดหาหนทางรับมือ เตรียมความพร้อม เมื่อเกิดความรู้สึกอยากเลิก เป็นสิ่งจำเป็น
- ยิ่งมีเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมากเท่าไร ก็ยิ่งลงมือได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
- การจินตนาการถึงภาพความสำเร็จ จะกลายเป็นเหตุผลในการทำต่อ และมอบพลังให้เรา
- เมื่อไหร่ที่เกิดความรู้สึกท้อแท้กับสิ่งที่ทำอยู่ ให้นึกถึงเหตุผลหรือจุดเริ่มต้นว่าทำไมเราถึงทำสิ่งนี้
- การได้รู้ว่าสิ่งที่ทำ มีประโยชน์กับผู้อื่น ก็จะยิ่งเห็นคุณค่า และความสำคัญของสิ่งที่ทำมากขึ้น
- ทำสิ่งที่ต้องการทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ในสถานที่เดิม ช่วงเวลาเดิม สมองก็จะตีความเอาเองว่า การกระทำนี้สำคัญ และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ จะยิ่งทำให้เราลงมือทำได้ง่ายยิ่งขึ้นในครั้งถัด ๆ ไป
- ลองเชื่อมโยงสิ่งที่อยากทำเข้ากับนิสัยเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น เราชอบนั่งร้านกาแฟ แต่อยากสร้างนิสัยการอ่านหนังสือ ลองเอาหนังสือติดตัวไปที่ร้านกาแฟดู
- ถ้าอยากเลิกนิสัยใด ให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศ สถานที่ เวลา วิธีการ หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับนิสัยนั้นดู
- ทำเรื่องสนุกสลับกับสิ่งที่ไม่อยากทำ จะกดดันน้อยกว่า การต้องทนทำแต่สิ่งที่ไม่ชอบไปเรื่อย ๆ
- ทำเรื่องสนุก → ทำเรื่องที่ไม่อยากทำ → ทำเรื่องสนุก → ทำเรื่องที่ไม่อยากทำ → ทำเรื่องสนุก เช่น ลองจับการท่องตำราไว้ระหว่างการเล่นเกม และดูทีวี
- การลงมือ “เก็บเล็กผสมน้อยอย่างไม่ย่อท้อ” จะมอบความมั่นใจอันใหญ่หลวงในท้ายที่สุด
- แม้มีแรงจูงใจ แต่หากไม่ลงมือทำ ผลลัพธ์ย่อมไม่เกิด
- เลิกคิดเรื่องแรงจูงใจ จงลงมือทำ โดยเพิกเฉยต่ออารมณ์ หรือแรงจูงใจ
- คนส่วนมากมักเลิกทำสิ่งที่คิดจะเลิกแบบกะทันหัน แต่สิ่งที่ควรทำ คือ ค่อย ๆ เลิกทำทีละนิด จะเห็นผลกว่าเลิกแบบกะทันหัน
- 80% ของข้อมูลที่ตัวเราได้รับมาจากการเก็บเกี่ยวโดยใช้สายตา การเก็บสิ่งที่ต้องการเลิกให้พ้นสายตา ถือเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เลิกสิ่งนั้นได้
- อยากเลิกสิ่งใด ให้วางสิ่งเหล่านั้นเอาไว้ให้ไกลที่สุด หรืออยากสร้างนิสัยใด ให้วางสิ่งนั้นอยู่ใกล้เราที่สุด
- การให้ตัวเองลองลงมือทำสิ่งใหม่ 1 อย่างทุก ๆ วัน ช่วยเลิกสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
- ลงมือทำอย่างต่อเนื่อง → เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง → ทำทุกสิ่ง ให้เกิดขึ้นจริงได้ → ชีวิตเปลี่ยน
อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
48 responses
OMG
20
Love
15
Like
13
Sad
0
Dizzy
0
Sleepy
0
Leave a Comment