สรุปหนังสือ 9 พฤติกรรมเพื่อเลิกเป็นคนคิดแล้วไม่ทำ - ฮิเดกิ วาดะ

📚 สรุปหนังสือ 9 พฤติกรรมเพื่อเลิกเป็นคนคิดแล้วไม่ทำ

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้

“ความคิด” เป็นอุปสรรคตัวฉกาจของ “การลงมือทำ” ยิ่งใช้ความคิด ยิ่งมีแนวโน้มที่จะลงมือทำได้ยากยิ่งขึ้น เราต้องเปลี่ยนจากการ คิดให้เยอะก่อนลงมือทำ เป็นลงมือทำก่อนแล้วค่อยคิด เพราะผลลัพธ์หรือประสบการณ์ที่เกิดจากการลงมือทำ คือ ความเป็นจริงที่ดีที่สุด มากกว่าความคิดที่เกิดจากการจินตนาการไปก่อนล่วงหน้าต่าง ๆ นานา

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้

“ถ้าไม่ทำ โอกาส = 0 แต่ถ้าลงมือทำ แน่นอน โอกาส >0”

สรุปหนังสือ 9 พฤติกรรมเพื่อเลิกเป็นคนคิดแล้วไม่ทำ เขียนโดย Hideki Wada

  • ถ้ามัวแต่คิดแล้วไม่ทำ มีแต่จะขาดทุนและเสียใจภายหลัง
  • การที่เราไม่รู้ว่า เราจะตายวันไหน สามารถเปลี่ยนมุมมองต่อชีวิตของเราได้ เพราะเราจะตระหนักถึง “กลัวเสียใจที่ไม่ได้ลงมือทำ ซึ่งอาจจะสายไปแล้ว ถ้าเราไม่ลงมือทำ ตั้งแต่วันนี้”
  • คำสอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาคำสอนทั้งหมดคือ คนเรามีโอกาสตาย 100% (สักวันต้องตายแน่ ๆ)
  • การไม่ลงมือทำอะไรเลย ก็เป็นการกระทำอย่างหนึ่ง
  • ความสำเร็จ ล้วนเป็นผลมาจากการลงมือทำทั้งสิ้น

พฤติกรรมที่ 1 ไม่รอความสมบูรณ์แบบ ถ้าตัดสินใจแล้วว่า ปลอดภัย ให้ลงมือเลย

  • ความกังวล ยิ่งคิดก็ยิ่งเพิ่ม
  • เทคนิคเลิก นิสัยชอบจินตนาการถึงกรณีเลวร้ายที่สุด คือ การลงมือทำ
  • ถ้าชิงลงมือทำไปเลย ความกังวล ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางก็จะเกิดได้ยากขึ้น พอได้ลองทำดูแล้วไม่ยากอย่างที่คิด ประสบการณ์จะช่วยให้เราขยับตัวทำอะไรได้ง่ายขึ้น
  • สิ่งที่แน่นอน แทบไม่มีอยู่ในโลกนี้
  • สิ่งที่เกิดขึ้น 100% ในโลกนี้มีเพียงสิ่งเดียว คือ สิ่งมีชีวิตไม่ว่าคนหรือสัตว์ สักวันหนึ่ง ก็ต้องตาย
  • ต่อให้เสี่ยงที่จะประสบอุบัติเหตุ คนก็ยังออกจากบ้าน เดินถนน และขับขี่พาหนะ นั่นเป็นเพราะเรากำลังต้องการสิ่งที่ดีกว่าปัจจุบัน
  • ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเสี่ยงเสมอ แต่ถ้ากลัวเสี่ยงแล้ว ไม่ทำอะไรเลย โอกาสจะกลายเป็นศูนย์
  • ยาทุกชนิด มีความเสี่ยง แต่ถ้าไม่กินยา อาการจะแย่ลง
  • ฝึกนิสัยตัดขาดทุนเข้าไว้ คือ ตัดสินใจไว้ตั้งแต่ก่อนลงมือทำว่า ต่อให้ทำพลาดก็จะยอมรับความผิดพลาดได้ระดับนี้
  • แทนที่จะกลัวความเสี่ยงแล้วย่ำเท้าอยู่กับที่ ลองคิดว่า ถึงจะเสี่ยง เราก็ต้องการสิ่งที่ดีกว่าปัจจุบัน ดังนั้นเราต้องลงมือทำ ก้าวเท้าออกมาก้าวหนึ่งก่อน
  • โลกนี้ไม่มีสิ่งที่สมบูรณ์แบบ แต่เราเลือกความปลอดภัยได้
  • ถ้าแยกแยะความปลอดภัยกับความสมบูรณ์แบบได้เมื่อไร จังหวะก้าวเท้าของเราจะเบาขึ้นเยอะ
  • คนเราที่ไม่กล้าทำอะไร ก็เพราะติดลังเลอยู่แค่ก้าวแรก ถ้าได้ก้าวแรกออกไปแล้ว ก้าวที่ 2 จะเบาขึ้น และก้าวที่ 3 ก้าวที่ 4 จะง่ายขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้ากังวล ลังเลอยู่ ไม่ลงมือทำอะไรเลย เอาแต่คิด สุดท้ายความกังวล จะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เยอะขึ้นเรื่อย ๆ
  • หลักพื้นฐาน คือ เป็นไปไม่ได้ที่ความเสี่ยงจะเป็นศูนย์ ไม่ว่าเรื่องอะไรย่อมมีความเสี่ยงเสมอ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องรอความสมบูรณ์แบบ ถ้าพิจารณาแล้วว่า ปลอดภัย ให้ลงมือทำได้เลย
  • ลองทำโน่น ทำนี่ดู ถ้าประสบความสำเร็จสัก 1 อย่าง สุดท้ายแล้วความล้มเหลวก็เป็นหนทางสู่ความสำเร็จ
  • ความเสี่ยงมีอยู่จริง แต่ถ้าไม่ลงมือทำ ก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง วันนี้ก็จะไม่ต่างจากเมื่อวาน
  • ทำพลาดไปก็ไม่มีอะไรจะเสีย ลองทำดูก่อน ไม่ต้องคิดมาก ผลที่ออกมาต่อให้แพ้ไป 9 ครั้ง แต่ครั้งสุดท้ายเอาให้ชนะก็พอ
  • ถ้าเราอยากเป็นอะไร ลองจัดสรรเวลา แล้วลองทำดูก่อน ถ้าไปได้สวยก็ทำต่อไป ถ้าไม่ไหวก็แค่เลิกทำเท่านั้นเอง
  • ถ้าจะกังวลอะไร ก็ขอให้ตัดความคิดลบทั้งหมดออกไป แล้วเริ่มลงมือทำโดยคิดถึงแต่ความสำเร็จก็พอ

พฤติกรรมที่ 2 เลือกสิ่งที่ทำได้ หรือ สิ่งที่ชอบก่อน

  • งานที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัด ไม่จำเป็นต้องฝืนทำ ถ้าฝืนทำไปทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบก็ไม่มีทางทำได้ดี มีแต่จะสูญเสียความตั้งใจหรืออาจโยนงานทิ้งกลางคันเสีย
  • ไม่ฝืนใจตัวเอง ไม่ใช่ตามใจ เช่น การอ่านหนังสือ ให้เริ่มจากหนังสือที่เกี่ยวข้อง ที่คิดว่าอ่านง่าย น่าจะชอบ จะช่วยให้เกิดความสนใจ จากนั้นแล้วจึงค่อยขยับไปศึกษาจากหนังสือเฉพาะทางหรือหนังสืออ่านยาก ๆ
  • เริ่มจากสิ่งที่สนุก สิ่งที่ถนัด หรือสิ่งที่ทำง่ายก่อน พอทุกอย่างเริ่มไปได้สวย จะทำอะไรที่ไม่ถนัดหรือเป็นเรื่องยากก็ทำได้ง่ายขึ้น
  • การทำสิ่งเดียวกันในช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ผลลัพธ์จะต่างกันมาก
  • การทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก จะเกิดความเหนื่อยล้าสะสม และมีโอกาสผิดพลาดสูงขึ้น
  • เวลาทำงาน ให้มีจังหวะการหยุดพักด้วย เช่น ทุก ๆ การทำงาน 30 นาที จะหยุดพัก 5 นาที
  • ทำงานที่ถนัดให้เสร็จก่อนอย่างรวดเร็ว แล้วทุกอย่างจะราบรื่น
  • เวลาทำงาน ให้สะสางงานเป็นลำดับโดยเริ่มจากสิ่งที่ทำได้ก่อน เช่น มีงาน 10 อย่าง เป็นงานที่ไม่ถนัด 3 อย่าง ให้เราทำงานที่ถนัด 7 อย่างให้เสร็จก่อน แล้วจึงค่อย ทำงานที่ไม่ถนัดอีก 3 อย่าง

พฤติกรรมที่ 3 จงพึ่งพาคนอื่น

  • คนเราต้องใช้ชีวิตเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คน และช่วยเหลือพึ่งพากันเสมอ
  • ถ้าเป็นคนลงมือทำอะไรเองไม่ได้สักที ให้ลองยืมแรงคนอื่น โดยมีใครสักคนคอยให้คำปรึกษา และผลักดันตอนลังเล สับสน
  • เรื่องบางเรื่องให้คนอื่นช่วยตัดสินใจจะดีกว่า หลายเรื่องที่บุคคลที่สามมองแล้วเข้าใจทันที แต่ตัวเราบางทีอาจจะมองเห็นแค่มุมเดียว เขาอาจให้กำลังใจและผลักดันเราให้ก้าวต่อไป หรือยั้งเราไว้ไม่ให้เดินต่อ
  • แบ่งปัน เล่าปัญหาให้คนอื่นฟัง เพราะในขณะที่เล่า เราจะได้ทำความเข้าใจปัญหาไปด้วย
  • การประกาศเป้าหมายของเราให้คนอื่นรับรู้ จะช่วยให้เราลงมือทำได้ง่ายขึ้น และยังมีคนคอยสนับสนุน แนะนำเราอีกด้วย
  • ไม่ว่าเราจะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือพนักงานบริษัท เมื่อประสบปัญหา เราต้องกล้าที่ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นให้ได้
  • เรื่องที่ยากสำหรับเรา บางครั้งอาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนอื่นก็ได้ หรือถึงแม้เขาจะทำอะไรให้ไม่ได้ แต่เขาอาจช่วยให้เราค้นพบ หนทางในการแก้ปัญหาก็ได้
  • เรารู้ว่าต่อให้เราทำผิดพลาดล้มเหลวก็จะมีคนคอยปลอบโยน มีคนคอยแนะนำว่าที่เราพลาดไป เพราะยังขาดอะไร มันจะช่วยให้เราตัดสินใจลงมือทำอะไรได้ง่ายขึ้น
  • การทำอะไรบางเรื่องไม่ได้เป็นปกติ ฝึกขอความช่วยเหลือกับผู้เชี่ยวชาญไว้

พฤติกรรมที่ 4 ไม่วางแผน

  • สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ เลิกคิด เพราะเอาแต่คิดเลย ไม่ได้ลงมือทำสักที (เลิกคิดในสิ่งที่คิดไปตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์)
  • ลองทำก่อน ถ้าทำไม่ได้ดี ก็ค่อยปรับปรุง พัฒนาไป
  • ยิ่งคิด ยิ่งสูญเสียความมั่นใจ และไม่กล้าทำอะไร
  • ต่อให้คิดอยู่ในหัวก่อนเริ่มทำ สุดท้ายหลายอย่างต้องลองทำดูถึงจะรู้
  • ถ้าเอาแต่คิดจะขาดทุนเปล่า ๆ ลองก้าวออกมาสักหนึ่งก้าวก่อน
  • เปลี่ยนมุมมอง จาก “คิดก่อนทำ” เป็น “ทำก่อนคิด”
  • สิ่งสำคัญ คือ เริ่มลงมือทำโดยไม่ต้องสนใจว่ามีเวลาแค่ไหน
  • พอเริ่มทำไปแล้ว เราจะมีเวลาเพื่อสิ่งนั้นเอง แล้วเราก็จะรู้สึกอยากหาเวลาหรือทำให้มีเวลาเพื่อทำสิ่งนั้น
  • บางทีที่เราตั้งเป้าหมายไว้สูง ถึงจะทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็ไม่ได้แปลว่าเราทำไม่ได้เลย วางแผนไว้ 10 ต่อให้ยังเหลืออีกครึ่งหนึ่งก็เท่ากับทำไปได้ 5 แล้ว
  • พอใจกับ 1 วัน และยอมรับตัวเองในแบบนั้น พอทำแบบนี้ซ้ำ ๆ ผลการทำงานก็คงจะดีขึ้นเรื่อย ๆ
  • ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องแย่ แต่ที่แย่คือล้มเหลวแล้วไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
  • แผนไม่ใช่สิ่งที่เราต้องทำตามให้ได้ตั้งแต่ต้นจนจบเสมอไป
  • แผนที่วางไว้ตอนแรกเป็นแค่เป้าหมายเท่านั้น แผนส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดา ปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ เป็นไปตามที่มันเป็น
  • อย่าปล่อยให้แผนที่เราเป็นคนกำหนด มากำหนดเราแทน
  • การวางแผน ไม่จำเป็นต้องละเอียดมาก แค่ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เราสามารถปรับเปลี่ยน ประยุกต์ได้ก็พอ
  • การปรับตัวตามสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนแผน จะช่วยให้เรามีทักษะในการปรับตัว มีประสบการณ์ที่หลากหลาย เจออะไรใหม่ ๆ เราก็จะได้เติบโต

พฤติกรรมที่ 5 พักผ่อน ไม่ทำอะไรเลย 1 สัปดาห์ แล้วจะรู้สึกอยากทำ

  • หากกำลังคิดว่า ถ้าอยากทำอะไรหลายอย่างคงมีทางเดียว คือ ลดเวลานอน การทนง่วงทำงานทั้งที่เหนื่อยล้าไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
  • การพักผ่อนสำคัญอย่างมาก ต่อคุณภาพของการทำงานของเรา
  • เมื่อสมองและร่างกายอยู่ในสภาพเหนื่อยล้า จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ มันย่อมไม่สามารถแสดงศักยภาพที่มีอยู่จริงออกมาได้
  • นอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
  • ทำงานหรืออ่านหนังสือโต้รุ่ง เป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์
  • ให้ความสำคัญกับช่วงเวลาความสนุก การพักผ่อนก่อน
  • หาวันหยุด เพื่อหาเวลาทำอะไรสนุก ๆ นอกเหนือจากงานอยู่เสมอ
  • คนเราจะกระตือรือร้นลงมือทำในสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข
  • เลิกคิดว่าคนอื่นจะมองเรายังไง ให้คิดถึงตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก
  • เราควรเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ ไม่ใช่มองว่าคนอื่นคิดยังไงกับเรา แต่ให้มองว่าเราคิดยังไงกับคนอื่น
  • การใส่ใจความรู้สึกของคนอื่นเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเราคิดว่าตัวเองใส่ใจเรื่องคนอื่นมากเกิน ก็อาจไม่ดีนัก
  • เราจะมีสุขภาพที่ดีและทำกิจกรรมด้วยความร่าเริงแจ่มใสได้ก็ต้องหมั่นดูแลรักษาตัวเองอยู่เสมอ
  • การหยุดทำงาน ไม่ทำอะไรบ้าง จะช่วยให้เราสดชื่นขึ้นได้
  • การหยุด ไม่ทำอะไรตลอด 1 อาทิตย์ ช่วยกระตุ้นให้เราอยากลงมือทำอะไร
  • เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่า ถ้าถูกห้ามไม่ให้ทำอะไรเลย ก็จะอยากทำอะไรขึ้นมา
  • คนที่คิดมากจนไม่ได้ทำอะไร ถ้าถูกเบรกว่า ห้ามทำนะ จะเริ่มคันไม้คันมืออยากทำอะไรขึ้นมาเอง

พฤติกรรมที่ 6 ลองทำพลาดดูบ้าง

  • คนที่ประสบความสำเร็จ โดยไม่เคยลำบาก หรือล้มเหลวมีน้อยมาก
  • ถ้าเรายอมแพ้เสียเองแล้ว ย่อมไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จตลอดชีวิต
  • ถ้าไม่เคยล้มเหลวจะประสบความไม่ได้
  • ท้าทาย –> แพ้ –> ท้าทาย –> ประสบความสำเร็จ –> ท้าทาย
  • ท้าทาย –> แพ้ –> ล้มเลิกความตั้งใจ –> คิดมาก –> ล้มเลิกความตั้งใจ
  • ชีวิตคนเราย่อมมี แพ้ชนะเสมอ คนที่ท้าทายไปข้างหน้า ไม่มองย้อนอดีต ความสำเร็จย่อมอยู่ไม่ไกล
  • เวลาผิดพลาด ไม่ใช่ตัวเราที่ใช้การไม่ได้ แต่เป็นวิธีที่ต่างหาก
  • พยายามคิดเสมอว่า แพ้เป็นเรื่องธรรมดา ชนะก็ถือว่าโชคดีไป จะช่วยให้เรากล้าท้าทายทำสิ่งใหม่ ๆ ได้
  • ลงมือทำ –> ผิดพลาด –> ล้มเหลว –> หาสาเหตุ –> ค้นหาวิธีใหม่ –> กลับมาทำ –> ได้ผล –> ประสบความสำเร็จ
  • บอกตัวเองว่า วันพรุ่งนี้ต้องทำให้ดีกว่าวันนี้ เราต้องไปได้สูงกว่านี้ สิ่งนี้จะเป็นทางลัดสู่การเป็นคนลงมือทำได้
  • เวลาเครียด หรือกดดัน เราควรเผชิญหน้ากับมัน แต่ในระดับที่สามารถทนได้ และเอาชนะมันให้ได้ ไม่ใช่หาวิธีหลบหนีจากแรงกดดัน
  • ฝึกเผชิญกับความเครียดหรือแรงกดดันเล็กน้อยให้มากเข้าไว้

พฤติกรรมที่ 7 ทำตามความรู้สึก

  • ความรู้สึกเป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ อย่าผูกมัดตัวเอง จงใช้ชีวิตแบบยืดหยุ่น
  • ทุกครั้งที่ถึงทางเลือก ก็เลือกทางที่ตัวเองคิดว่าดี แล้วทำไปเลย
  • มีหลายเรื่องที่ไม่ลองทำดูก็ไม่รู้ แต่พอได้ลองทำก็ค้นพบ สิ่งที่คาดไม่ถึงมากมาย
  • คนที่คิดแล้วไม่ทำส่วนใหญ่จะมีลักษณะร่วมกัน คือ มีแนวโน้มล้มเลิกความตั้งใจทันทีที่ถูกปฏิเสธ
  • เวลาผิดหวัง หรือถูกปฏิบัติ สิ่งที่ต้องทำ คือ ให้เก็บความคิดนั้นเอาไว้ก่อน ใส่ลิ้นชักไว้ก่อน แล้วรอโอกาส แต่อย่าล้มเลิกความตั้งใจเด็ดขาด
  • เราต้องวาดฝันนั้นไว้ในใจเสมอ
  • ทำไม่ได้ กับ ไม่ทำ ต่างกันโดยสิ้นเชิง
  • คนเรา ถ้าได้ทำในสิ่งที่ ใจอยากทำ จะยิ่งแสดงศักยภาพได้มากกว่า
  • ใจที่อยากทำ เป็นหนึ่งแรงขับเคลื่อนความสำเร็จ

พฤติกรรมที่ 8 เลียนแบบ

  • คนยิ่งเก่งยิ่งเลียนแบบคนอื่น คนไม่เก่งมักยึดติดกับแบบเดิม ๆ
  • คนเราตัดสินกันด้วยผลลัพธ์ ถ้ามัวยึดติดกับกระบวนการหนทางสู่ความสำเร็จย่อมห่างไกล
  • ถ้ามีคนประสบความสำเร็จแบบที่ต้องการ ให้เราลองเริ่มเลียนแบบเขาดู
  • เลียนแบบไปก่อน ถ้าล้มแล้วก็ลองใหม่ เลียนแบบอีกครั้ง
  • ลองฝึกมองตัวเองด้วยสายตาของคนอื่นดู
  • ยิ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเองได้ดีเท่าไหร่ เรายิ่งจะตัดสินใจลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
  • ถ้าเราคิดมากจนไม่ได้ลงมือทำ ระหว่างที่กำลังคิดมาก ลองเช็กตัวเองว่า เรากำลังคิดอะไรอยู่ สภาพปัจุจบันเป็นอย่างไร ความรู้และความสามารถเพียงพอไหม
  • เวลาที่เราลงมือทำไม่ได้สักที หรือเวลาที่ทำท่าจะล้มเลิก ขอให้ลองย้อนทบทวนและพินิจพิจารณาตัวเอง ณ ตอนนั้น
  • แข่งขันกับตัวเองในเมื่อวาน เมื่อเอาชนะตัวเองคนเมื่อวานได้ จะรู้สึกยินดีมากกว่าที่คิด จะได้สัมผัสถึงการเติบโตของตัวเองอย่างแท้จริง
  • ต่อให้เราเป็นคนมุ่งมั่นกระตือรือร้นแค่ไหน ถ้าไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง แรงจูงใจจะถดถอย
  • แรงจูงใจคงอยู่ได้เพราะลงมือทำอยู่ตลอดเวลา หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ
  • ถึงไม่มีแรงจูงใจก็ให้ลองทำดูก่อน ถ้าไม่รู้ว่าต้องทำยังไง ก็ลองเลียนแบบดู

พฤติกรรมที่ 9 ค้นหากฎ

  • ถ้ามองแต่ กฎแห่งความล้มเหลว จะยิ่งไม่กล้าทำอะไร จงมองแต่ กฎแห่งความสำเร็จ
  • กฎแห่งความสำเร็จมีอยู่แล้วในอดีต
  • การทำอะไรสำเร็จ ย่อมมีเหตุผลเสมอ
  • ศึกษาอดีตเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ แล้วเราก็จะพบทางลัดไปสู่ความสำเร็จ
  • ไม่หวั่นไหวต่อ ความล้มเหลวของคนอื่น
  • คนที่มองแต่ตัวอย่างความล้มเหลว จะทำให้มองไม่เห็นหนทางสู่ความสำเร็จ
  • สิ่งสำคัญที่แท้จริง คือ การเรียนรู้จากตัวอย่างความสำเร็จ
  • ให้ความล้มเหลวเป็นบทเรียนสอนใจ
  • เพื่อให้ตัวเองประสบความสำเร็จได้ ทางลัด คือ มองดูคนที่ประสบความสำเร็จ และค้นหาเหตุผลของความสำเร็จนั้น
  • คนที่คิดว่าที่การที่คนประสบความสำเร็จได้ ก็เพราะมีพรสวรรค์ จะเป็นคนที่ลงมือทำอะไรไม่ได้เลย
  • สิ่งจำเป็นที่สุดเพื่อประสบความสำเร็จ คือ วิธีการสู่ความสำเร็จ
  • ความสำเร็จในระดับปกติไม่ใช่สิ่งที่ได้มาด้วยพรสวรรค์ แค่รู้วิธีการสู่ความสำเร็จและลงมือทำจริงก็ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก สำคัญอยู่ที่ว่าเราจะรู้วิธีที่ว่าหรือเปล่า
  • การเลือกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นเงื่อนไขเพื่อเดินต่อ ถ้ามัวแต่กังวลจนไม่สามารถเลือกได้ เราก็จะไม่มีวันจบและไม่มีทางไปถึงเส้นชัยได้
  • เลือกแล้วทำ นี่คือกฎแห่งความสำเร็จที่จะช่วยให้เราเข้าใกล้เส้นชัย

อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
38 responses
OMG
OMG
0
Love
Love
24
Like
Like
12
Sad
Sad
2
Dizzy
Dizzy
0
Sleepy
Sleepy
0