สรุปหนังสือ อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น เขียนโดย Tadashi Yasuda

📚 สรุปหนังสือ อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้

ไม่ว่าชีวิตของเราต้องการความสำเร็จหรือความสุข ทุกอย่างมีรากฐานเดียวกัน นั่นคือ ความสัมพันธ์

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

ซึ่งทักษะสำคัญที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้นั้นคือ การพูดคุย และต้องเป็นการพูดคุยที่มีกลยุทธ์ และหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยได้คือ การคุยเล่น

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้

“ทักษะการสื่อสารสามารถกลายเป็นสมบัติล้ำค่าที่สามารถชี้ชะตาชีวิตได้”

ทักษะการสื่อสาร สามารถกลายเป็นสมบัติล้ำค่า ที่สามารถชี้ชะตาชีวิตได้ - สรุปหนังสืออย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น

สรุปหนังสือ อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น เขียนโดย Tadashi Yasuda สำนักพิมพ์วีเลิร์น

  • การประสบความสำเร็จในการสื่อสารจะส่งผลกระทบดี ๆ ต่อชีวิตของเราอย่างมหาศาล
  • ความพยายามในการพูดคุยสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะมันจะช่วยกระชับความสัมพันธ์กับคนอื่นได้
  • การคุยเล่นไม่ใช่เรื่องไร้สาระ การคุยเล่นเป็นเหมือนเวทมนตร์ที่ช่วยเสกความสัมพันธ์และคุณภาพการทำงานให้เปลี่ยนแปลงไป
  • การคุยเล่นคือจุดเริ่มต้นที่เชื่อมโยงคนกับคนเข้าด้วยกัน 
  • การคุยเล่นเปรียบเสมือนประตูสู่ความสัมพันธ์ต่าง ๆ มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อีกฝ่ายยอมรับในตัวเรา และได้สานสัมพันธ์ให้แนบแน่นขึ้น
  • การที่เราไม่ตระหนักถึงพลังที่แท้จริงของการคุยเล่น แสดงว่าเรากำลังทำเรื่องขาดทุนอย่างมากโดยไม่รู้ตัว
  • ทักษะการคุยเล่นเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถฝึกฝนได้ ทั้งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตการทำงาน และมีโอกาสได้ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ มากกว่าทักษะอื่น ๆ
  • สิ่งที่ทำให้เราพูดได้เก่งคือ การฝึกฝน
  • เมื่อฝึกพูดบ่อย ๆ เข้า จะเข้าใจว่าข้อมูลไหนไม่จำเป็น และต้องเรียงลำดับการพูดอย่างไรถึงจะเข้าใจง่าย
จริง ๆ แล้วคนที่พูดเก่ง ไม่ได้เก่งมาตั้งแต่เกิด พวกเขาต่างต้องพยายามขัดเกลาพัฒนาการพูดของตัวเองเช่นกัน - สรุปหนังสืออย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
  • จริง ๆ แล้วคนที่พูดเก่ง ไม่ได้เก่งมาตั้งแต่เกิด พวกเขาต่างต้องพยายามขัดเกลาพัฒนาการพูดของตัวเองเช่นกัน
  • สิ่งสำคัญในตอนที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเองคือ ต้องพูดสรุปแบบสั้น ๆ 
  • การนำเสนอตัวเองมีจุดประสงค์อยู่ที่การทำให้อีกฝ่าย รู้จักตัวเราและคลายความระแวง
  • หลักพื้นฐานที่สำคัญเวลาเริ่มสนทนา คือ ไม่โอ้อวดตัวเอง
  • แค่คุยเล่นไม่กี่คำทำให้เกิดอารมณ์ขันนิดหน่อย ก็สามารถสร้างบรรยากาศการสนทนาก็ครึกครื้นขึ้นแล้ว 
  • เนื้อหาที่พูดดี เรื่องเล่าดี เรื่องน่าสนใจ แต่สื่อสารได้ไม่ดี ก็ทำให้อีกฝ่ายไม่เข้าใจหรือไม่สนใจได้
  • คนที่เชี่ยวชาญในศิลปะการพูด จะใช้คำเลียนเสียงรวมทั้งภาษากายและภาษามือที่สอดคล้องกับคำพูดนั้น เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ที่เล่าด้วย
  • ลักษณะเฉพาะของคนพูดไม่เก่งอย่างหนึ่งคือ การพูดเยิ่นเย้อเกินความจำเป็น
  • สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนพูดเยิ่นเย้อเกินความจำเป็นคือ ไม่มีการวางแผนว่าจะพูดคุยเพื่อเป้าหมายอะไร
  • คนที่สื่อสารเก่งหรือพูดเก่งจะคำนึงถึงเป้าหมายในการพูด จึงพูดได้อย่างกระชับและไม่มีส่วนที่เปล่าประโยชน์
  • ตามหลักพื้นฐานควรพูดด้วยเสียงที่ค่อนข้างสูง เพราะการพูดเสียงสูงจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว่าผู้พูดเป็นคนที่ชอบเข้าสังคม
  • ช่วงต้นของการสนทนาคือส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญ ถ้าเปิดการสนทนาได้ดี บรรยากาศการสนทนาหลังจากนั้นก็จะดีตามไปด้วย
  • ความแตกต่างระหว่างคนที่เข้ากับคนอื่นยากและคนที่เข้ากับคนอื่นง่ายคือ ปริมาณประสบการณ์
  • เมื่อเราได้พบเจอผู้คนมาก ๆ เข้า ก็จะเริ่มคุ้นเคยกับคนอื่น และมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาทักษะการสื่อสารของตัวเอง ทำให้เราสื่อสารเก่งขึ้นได้
  • ในขณะคุยให้คอยสังเกตอีกฝ่ายว่าสนใจเรื่องไหน เมื่อพบแล้วให้พูดเจาะลึกลงเรื่องนั้น ๆ จะช่วยสร้างบรรยากาศการสนทนาที่ดีได้
  • หาเรื่องที่มีจุดร่วมกับอีกฝ่าย แล้วขยายความเรื่องนั้น จะทำให้อีกฝ่ายรักที่จะคุยกับเรา
  • เวลาพูดคุยเล่น ควรเลือกใช้หัวข้อสนทนาเบา ๆ หัวข้อที่ไม่มีเนื้อหาซับซ้อน ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น และไม่ได้เจาะจงพูดถึงใครเป็นพิเศษ
  • หัวข้อสนทนาเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ถ้าหาเจอ มันจะกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในการดำเนินชีวิต
ทักษะหนึ่งที่สำคัญในระหว่างพูดคุยคือ การอ่านบรรยากาศ สีหน้า ท่าทาง อารมณ์ ความรู้สึกของคนที่เราคุยด้วย - สรุปหนังสืออย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
  • ทักษะหนึ่งที่สำคัญในระหว่างพูดคุยคือ การอ่านบรรยากาศ สีหน้า ท่าทาง อารมณ์ ความรู้สึกของคนที่เราคุยด้วย
  • เวลาพูดคุย แค่สามารถทำให้อีกฝ่ายคิดว่า จริงเหรอ ทำไมล่ะ อยากรู้ให้มากกว่านี้ ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว 
  • คนเรามีความสนใจในเรื่องที่แตกต่างกันไป พูดเรื่องแบบไหน จึงจะดึงดูดความสนใจของอีกฝ่ายได้ง่ายที่สุด คำตอบคือ เรื่องที่เป็นประโยชน์กับอีกฝ่าย
  • อย่ามัวแต่สนใจเรื่องที่ตัวเองพูด หัดเรียนรู้จะรับฟังด้วย
  • สิ่งสำคัญเวลารับฟังผู้อื่นคือ ให้อีกฝ่ายรู้สึกว่า เรากำลังตั้งใจฟังที่เราพูดอย่างเต็มที่ ด้วยการมองตาอีกฝ่าย พูดตอบรับตามจังหวะการพูดของเขา
  • เมื่ออีกฝ่ายเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟัง ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็จะแนบแน่นขึ้นในทันที
  • ถามตั้งคำถามกับอีกฝ่าย จำไว้ว่าต้องเลือกใช้คำถามให้เหมาะสมกับเขาด้วย
  • อย่าดูถูกพลังของสีหน้า เสื้อผ้า และการดูแลรูปลักษณ์ภายนอก เพราะเราจะตัดสินว่าชอบหรือเกลียดอีกฝ่ายตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอกัน
  • ฝึกเล่าเกินจริงเล็กน้อย จะทำให้เรื่องเล่าฟังดูน่าสนใจขึ้นในชั่วพริบตา
  • เมื่ออีกฝ่ายบอกเรื่องที่มีประโยชน์ หรือพูดสิ่งที่ทำให้รู้สึกประทับใจ ให้ใช้วิธีพึมพำในการบอกความรู้สึกหรือชมอีกฝ่าย
จำไว้ว่า ไม่มีใครเกลียดคนที่ให้ความสนใจตัวเอง - สรุปหนังสืออย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
  • จำไว้ว่า ไม่มีใครเกลียดคนที่ให้ความสนใจตัวเอง
  • ตอนจบสนทนา ให้เพิ่มความประทับใจดี ๆ ในตอนท้ายของการสนทนาเสมอ
  • ถ้าปิดสนทนาได้ดี ได้น่าประทับใจ เวลาเจอกันคราวหน้า เราก็จะกระชับความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น 
  • การสื่อสารมีความยากตรงที่มันไม่ได้มีรูปแบบตายตัว จึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีเข้าหาคู่สนทนาให้เข้ากับเวลาและสถานการณ์ด้วย
  • ถ้าอยากเป็นคนคุยเก่ง เราต้องเปลี่ยนวิธีพูดหรือเปลี่ยนหัวข้อสนทนาไปตามประเภทของคู่สนทนา
  • อย่าทำลายความต่อเนื่องของการสนทนา เพราะถ้าการสนทนาขาดช่วง จะทำให้คู่สนทนารู้สึกประหม่าและระแวง
  • ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบไหน ก็ต้องตั้งใจสื่อสารเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งและแข็งแกร่ง ไม่ใช่สร้างความสัมพันธ์ที่ตื้นเขินและเบาบาง หากสามารถสื่อสารแบบนั้นได้ ชีวิตก็จะสมบูรณ์มั่งคั่ง

อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
24 responses
OMG
OMG
7
Love
Love
13
Like
Like
4
Sad
Sad
0
Dizzy
Dizzy
0
Sleepy
Sleepy
0