สรุปหนังสือ Disrupt Yourself ในโลกที่มีแต่คนเก่ง อยากสำเร็จต้องกล้าฉีก เขียนโดย Whitney Johnson

📚 สรุปหนังสือ Disrupt Yourself ในโลกที่มีแต่คนเก่ง อยากสำเร็จต้องกล้าฉีก

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือ Disrupt Yourself ในโลกที่มีแต่คนเก่ง อยากสำเร็จต้องกล้าฉีก

“การเปลี่ยนแปลง” เป็นสิ่งที่เราไม่อาจจะหลีกหนีพ้น สิ่งที่ควรจะทำคือ การยอมรับ และเข้าใจมันด้วยมุมมองที่เปิดรับถึงโอกาสที่มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง และหนังสือเล่มนี้ทำให้มองการเปลี่ยนแปลง เป็นมิตรมากยิ่งขึ้น และตระหนักเน้นย้ำกับกฎที่ว่า “ถ้าอยากเติบโต ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ปรารถนาที่จะทำ”

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้

“จงเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ เมื่อออกเดินทางค้นหาความฝัน เราจะต้องเจอกับการเดินทางที่โดดเดี่ยวและน่ากลัวในบางครั้ง”

สรุปหนังสือ Disrupt Yourself ในโลกที่มีแต่คนเก่ง อยากสำเร็จต้องกล้าฉีก เขียนโดย Whitney Johnson

  • นักพลิกชีวิต (Disruptor) คือ คนที่สามารถไต่เต้าจากล่างขึ้นบนมาได้
  • นักพลิกชีวิต จะรุกยึดพื้นที่จากตลาดล่าง ด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ที่สร้างกำไรต่ำและดูด้อยค่า
  • คำว่า นักพลิกชีวิต (Disruptor) มาจากคำว่า นวัตกรรมพลิกกระแส (Disruption Innovation) เป็นแนวคิดสำหรับนวัตกรรมที่ตีตลาดจากระดับล่าง ที่สามารถพลิกมาครองส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมนั้นได้ในที่สุด
  • เมื่อโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เราจะเจอการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งเป็นได้ทั้งวิกฤต และโอกาส จงใช้ประโยชน์จากมัน
  • เราต้องเกาะไปกับเกลียวคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง และใช้มันเป็นแรงส่งให้เราทะยานไปสู่จุดหมาย
  • ทำความเข้าใจเส้นโค้งตัว S
    • เส้นโค้งตัว S (S-curve) เป็นโมเดลที่คิดค้นขึ้นมา เพื่ออธิบายว่าทำไมสิ่งต่าง ๆ บนโลกมักเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวเสมอ ถูกนำมาใช้อธิบายว่านวัตกรรมพลิกกระแสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราได้อย่างไร และทำไมธุรกิจมักโตช้า ๆ อยู่นานก่อนจะทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กลับไปโตช้าอีกครั้ง 
    • ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1962 โดย อี. เอ็ม. โรเจอร์ เขาพยายามทำความเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์กระจายตัวเป็นวงกว้างได้อย่างไร เพราะอะไร และด้วยอัตราเท่าใด
    • ในช่วงแรกเส้นโค้งจะปรับตัวขึ้นอย่างช้าๆ ก่อนเข้าสู่จุดพลิกผัน (Tipping Point) ที่ดีดเส้นกราฟไปสู่ช่วง การเติบโตข้ามขั้น (Hyper Growth)
    • Facebook ใช้เวลาถึง 4 ปี เพื่อไต่ไปแตะจุดพลิกผัน ซึ่งเท่ากับ 100 ล้านคน แต่ทันทีที่ Facebook ผ่านจุดพลิกผัน ยอดผู้ใช้ก็พุ่งทะลุเป้า เพราะผู้คนบอกกันปากต่อปากแบบไวรัลอย่างรวดเร็ว ตลอด 4 ปีหลัง จากนั้น FB มียอดผู้ใช้เติบโตจาก 100 ล้านคน เป็น 800 ล้านคน
  • เราเองก็จะพลิกชีวิตตัวเองหรือก้าวผ่านจุดหักเลี้ยงสำคัญ โดยเรียนรู้จากเส้นโค้งตัว S เช่นกัน
  • การกระทำบางอย่างอาจกินเวลานาน หรือต้องรอสักพักเพื่อให้เห็นผล ความทุ่มเทในวันนี้ อาจส่งผลดีให้เห็นเพียงเล็กน้อย
  • การพลิกชีวิตตัวเองทำให้เราต้องเริ่มหาข้อมูล ทำความรู้จักคน และวางระบบชีวิตใหม่ เหมือนการออกแรงปีนเนินที่ลาดชัน ภูเขาที่สูง อาจดูยากเกินจะพิชิต
  • เส้นโค้ง S ช่วยให้เรา เข้าใจว่าในช่วงแรกที่เราเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ มันยากที่จะเห็นความคืบหน้า เราจะไม่ด่วนถอดใจไปก่อน

7 ตัวที่ช่วยทำให้เราเรียนรู้ และเติบโตได้เร็วขึ้น เร่งให้เราไปสู่ปลายเส้นโค้งได้อย่างรวดเร็ว

1. เลือกความเสี่ยงที่ใช่

  • ถ้ารู้สึกท้อแท้ จงจำไว้ว่าที่จุดเริ่มต้นของเส้นโค้งตัว S ก็ไปได้ช้าแบบนี้
  • เป็นเรื่องปกติที่การเดินขึ้นเนินส่วนต้นของเส้นโค้งจะเชื่องช้า การทุ่มเทสุดกำลังอาจให้ผลลัพธ์เพียงน้อยนิดเท่านั้น เพราะเราต้องใช้เวลาในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เข้าหากัน แต่ตอนที่ฝึกฝนเรื่อยไปนี่เอง สมองก็จะพัฒนาระบบประสาทชุดใหม่ขึ้น และกระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น
  • จงเลือกทำงานที่เรารู้สึกว่ามีคุณค่า (Jobs to Be Done)
    • ให้เลือกทำสิ่งที่ผู้คนต้องการและมองว่ามีคุณค่า เช่น เมื่อไหร่ที่เราซื้อของสักชิ้น หมายความว่าเรากำลังใช้ สินค้า หรือบริการนั้น ๆ ให้ทำสิ่งที่เราต้องการ (ของชิ้นนั้น ทำงานให้เรา)
    • เมื่อเรามองออกว่าผู้อื่นต้องการอะไร เราก็จะมองย้อนกลับมาได้ว่าเราควรทำอะไรจึงจะมีคุณค่า และตอบสนองความต้องการ
  • กำหนดให้ได้ว่า เราทำงานไปเพื่ออะไร?
    • ประสิทธิภาพการทำงานที่ดี และแนวทางการดำเนินงานที่ราบรื่น ล้วนมาจากการตัดสินใจที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น
    • เมื่อเริ่มทำสิ่งใหม่ เราควรตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า “ฉันทำสิ่งนั้นไปทำไม?” และที่ลงแรงไปนั้นจะให้อะไรกับเราบ้าง ทั้งทางด้านผลตอบแทนและความรู้สึก
    • เมื่อเราไม่รู้ว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง เราจะเกิดความกลัวขึ้นมาโดยไร้สาเหตุ
    • เมื่อใดที่เรารู้ขอบเขตการทำงาน รู้ว่าต้องทำงานให้ใคร และผลงานของเราจะถูกวัดผลด้วยวิธีใด สมองของเราจะกังวลน้อยลง และใช้เวลาไปกับการเรียนรู้มากขึ้น

2. ใช้จุดแข็งที่เฉพาะตัว 

  • คนที่เป็น “นักพลิกชีวิต” ไม่เพียงแต่มองหาความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองเท่านั้น พวกเขายังจับคู่ความต้องการเหล่านั้นเข้ากับจุดแข็งของตัวเองด้วย
  • จุดแข็ง คือ สิ่งที่เราทำได้ดี ขณะที่คนอื่น ๆ ในวงการเดียวกันทำไม่ได้
  • การจับคู่จุดแข็งเข้ากับสิ่งที่ยังไม่มีใครทำ หรือปัญหาที่ยังไม่มีใครมาแก้ จะก่อให้เกิดแรงหนุนให้เราเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • เมื่อหาทักษะเฉพาะของตนเองเจอแล้ว เราต้องนำทักษะนั้นมาทำในสิ่งที่ยังไม่มีใครทำ
  • เมื่อรู้ว่าจุดแข็งเฉพาะตัวของเราคืออะไร และจะประยุกต์ใช้จุดแข็งนั้นได้อย่างไรแล้ว เราจะปีนป่ายขึ้นไปบนเส้นการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว

 3. ยิ้มรับข้อจำกัด 

  • ข้อจำกัดเป็นเรื่องที่ดี มันทำให้เราเห็นวิธีแก้ปัญหาและลดความผิดพลาดที่เกิดจากความไร้ระเบียบ
  • ข้อจำกัดช่วยให้เราเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
    • ถ้าชีวิตเรามีตัวเลือกนับไม่ถ้วน ความซับซ้อนก็จะยิ่งทวีคูณ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะมีเวลามากพอในการพิจารณาทุกตัวเลือกในชีวิต ว่าทางไหนจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
    • การตั้งข้อจำกัดให้ตัวเองเป็นวิธีที่จะทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำที่สุด
    • การมีข้อจำกัดเป็นกรอบในการทำงาน จะทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น และได้ผลดีขึ้น เราจะมองออกว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเรา ว่ามาจากการกระทำใดกันแน่
    • เราจะเรียนรู้และก้าวหน้าได้เร็วขึ้น ถ้าย่นวงจรการเรียนรู้ให้ถี่ขึ้น โดยการรับคำติชม เพราะยิ่งเราได้รับคำติชมเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองดีขึ้นเท่านั้น
  • พยายามใช้ประโยชน์จากข้อจำกัด
    • เงิน : การขาดเงินทุนทำให้เจ้าของธุรกิจต้องกระตือรือร้นหากำไร
    • ความรู้ : เมื่อลงมือทำอะไรสักอย่างเป็นครั้งแรก วิธีการในแบบของตัวเองนั้นอาจก่อให้เกิดแนวทางที่สดใหม่ขึ้นมาได้
    • เวลา : การขาดแคลนเวลา จะทำให้เราตระหนักรู้ถึงการเร่งรีบที่จะลงมือทำ
  • คนมักพูดถึงว่า “สำเร็จได้ทั้ง ๆ ที่ไม่พร้อม” แต่ว่า “ความไม่พร้อม” ต่างหาก ที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ
  • จงอย่าถามว่า “ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้นกับฉัน” แต่ควรถามว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ จะช่วยฉันได้อย่างไร”
  • ข้อจำกัด ทำให้เราพยายามผลักดันตัวเองตลอดเวลา
    • ยิ่งตั้งข้อจำกัดเข้าไปมากเท่าไหร่ คนคนนั้นก็ยิ่งเป็นอิสระจากตัวเองมากขึ้นเท่านั้น
    • หากเราไม่มีข้อจำกัดที่ชัดเจน เราจะต้องเริ่มสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาจากศูนย์ ซึ่งอาจทำให้เราหลุดออกจากเส้นทางได้โดยง่าย
    • ข้อจำกัดและแรงกดดันหล่อหลอมให้เราแข็งแกร่ง
    • ข้อจำกัดช่วยให้เราอยู่บนฐานของความจริง และช่วยดึงเราให้อยู่กับสิ่งที่ทำอยู่
    • เมื่อมีทรัพยากรจำกัด คนที่ประสบความสำเร็จ จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองมีมากกว่าคนอื่น ๆ จะหาทางดึงเอาจุดแข็งเฉพาะตัวออกมาใช้ และจะเลือกเล่นเกมในจุดที่คนอื่นไม่ได้เข้าไปเล่น เพราะเห็นว่าทางเลือกอื่น ๆ เป็นทางตัน
    • ข้อจำกัดไม่ใช่สิ่งที่คอยปิดกั้นอิสรภาพ และเมื่อเราเรียนรู้ที่จะยอมรับข้อจำกัด มันจะกลายเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าต่อการสร้างสรรค์อย่างมาก

4. เอาชนะความยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง

  • ความยึดมั่นถือมั่น คือ ความเชื่อว่าบางอย่างที่เป็นของของเรา ซึ่งมันจะส่งผลกระทบต่อากรพัฒนาตัวเองของเรา
  • เมื่อเราพัฒนาตัวเองมาถึงช่วงที่อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น เราจะมีความมั่นใจมากขึ้น และการยึดถือมั่นในตัวเอง คือ ความเสี่ยงที่พวกเราทุกคนต้องเผชิญ
  • เลิกคิดถึงแต่ตัวเอง
    • คนเรามักยึดติดว่าตัวเราต้องมาก่อนเสมอ
    • เวลาที่เราเชื่อว่ามีอะไรสักอย่างที่ควรเป็นของเรา และเราสมควรได้รับสิ่งนั้นมากกว่าคนอื่น ๆ แล้ว เราจะติดอยู่ในวังวนของความหลงตัวเองจนทำให้เรา “พลิกชีวิตตัวเอง” ไม่ได้
    • ถ้าเราอยากขจัดความรู้สึกเห็นแก่ตัวและความยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ให้ลองเขียนบันทึกความรู้สึกยินดีสัก 3 ข้อต่อวัน และเขียนเหตุผลลงไปด้วย
    • เราต้องถ่อมตนเพื่อเรียนรู้ข้อด้อยของตัวเอง และยอมรับอย่างหมดเปลือกว่าโลกนี้ไม่ได้มีแต่เรื่องของเราคนเดียว
  • จงรับผิดชอบชีวิตตัวเองก่อน ไม่มัวแต่ไปคิดว่าเป็นหน้าที่ของคนอื่น

5. ก้าวถอยหลังเพื่อเติบโต

  • บางครั้งเราต้องยอมถอยเพื่อให้ได้ไปต่อ ลองคิดถึงคนที่กำลังกระโดดลงสระน้ำด้วยการย่อตัวต่ำก่อน จะพุ่งออกไปจากแท่นออกตัว 
  • การพลิกชีวิต จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ไปด้านข้าง ด้านหลัง หรือเดินลงล่าง
  • เป้าหมายหลักของ “การพลิกชีวิต” ตัวเอง คือ การไต่เต้าระดับความสำเร็จให้สูงขึ้น
  • สิ่งที่ท้าทายที่สุด คือ การรวบรวมความกล้าเพื่อกระโดดไปสู่เส้นทางชีวิตเส้นใหม่ ในตอนที่คุณรู้สึกสบายใจ
  • เมื่อเรากำลัง พลิกชีวิตตัวเอง จะต้องหาตัวชี้วัดที่เหมาะสมมาวัดตัวเอง
  • ก่อนที่จะคิดว่า “ฉันจะสร้างตัวชี้วัดให้ตัวเองอย่างไรดี?” ขอให้ถามตัวเองว่า “ฉันนิยามความสำเร็จไว้อย่างไร?”

6. ชื่นชมความล้มเหลว

  • เมื่อเรา พลิกชีวิตตัวเอง เรากำลังเดินไปสู่สถานที่ที่ไม่รู้จัก เรากำลังเสี่ยงทำพลาด
  • คนเรากลัวความล้มเหลวเพราะอยากทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ คนเราจึงขาดการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญต่อการก้าวไปข้างหน้า
  • ความผิดพลาดบางอย่างไม่ได้ส่งร้ายแรง แค่ทำให้เราเดินทางล่าช้าลงหรือลำบากขึ้นเท่านั้นเอง
  • ยอมรับและแบ่งปันความเศร้า ไม่ควรเก็บซ่อนความล้มเหลวไว้
  • ยอมรับความผิดพลาด และลองเล่าเรื่องความผิดหวังให้กับใครสักคนที่เราไว้ใจฟัง
  • โยนความอับอายทิ้ง ถ้ายอมให้ความล้มเหลวมาเป็นตัวตัดสินความสามารถของเรา ความอับอายจะทำให้เราไม่สามารถก้าวไปตามฝันของตัวเองได้
  • การเรียนรู้จากความล้มเหลวเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่เราไม่ควรเรียนรู้แบบสะเปะสะปะ ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จ เราควรเรียนรู้ให้ถูกจุด
  • การเรียนรู้จากความล้มเหลว คือ องค์ประกอบพื้นฐานเพื่อสร้างความก้าวหน้าของคนที่คิดจะพลิกชีวิตตัวเอง 

7. จงเป็นนักสำรวจ

  • หนึ่งในคุณลักษณะพิเศษของนักพลิกชีวิต คือ พวกเขาจะเล่นในจุดที่ไม่มีใครลงเล่น
  • แม้เราจะมีเป้าหมายหรือมีจุดหมายชัดเจนอยู่แล้ว แต่เส้นทางเพื่อไปสู่จุดหมาย ยังไร้ป้ายบอกทาง เราจะต้องหลงทางและทำผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง เราจะต้องพร้อมปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามข้อจำกัด ดังนั้น นักพลิกชีวิต ก็ต้องเป็น นักสำรวจ ด้วยเช่นกัน
  • เราควรค่อย ๆ เดินตามเสียงเรียกร้องภายในใจไปทีละก้าว ๆ 
  • ก่อนออกสำรวจลองถามตัวเองว่า “ฉันต้องทำอะไรให้เป้าหมายของฉันเป็นจริงขึ้นมา?”
  • ตอนที่เดินหน้าสำรวจเส้นทาง เราจะก้าวเดินไปข้างหน้าเรื่อย ๆ โดยรวบรวมผลตอบรับที่ได้และปรับตัวไปตามความต้องการของเรา
  • ถ้าเราไม่กล้าเริ่มทำสิ่งใหม่ เราจะเจอกับเสี่ยงจากการหยุดนิ่งอยู่กับที่ ในขณะที่คนอื่นก้าวหน้าไป นั่นถือว่าเราโดนผลักให้ถอยหลังโดยอัตโนมัติ
  • เราไม่สามารถเห็นอนาคตตัวเอง เมื่อไล่ตามเส้นทางนักพลิกชีวิต เราอาจได้ไปยืนในจุดที่ตัวเองไม่ได้คาดหวังไว้

อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
43 responses
OMG
OMG
15
Love
Love
20
Like
Like
7
Sad
Sad
1
Dizzy
Dizzy
0
Sleepy
Sleepy
0