สรุปหนังสือ เมื่อวิธีคิดที่คุณมีใช้กับงานในวันพรุ่งนี้ไม่ได้ (Future Mindset) - ดร.นภดล ร่มโพธิ์

📚 สรุปหนังสือ เมื่อวิธีคิดที่คุณมีใช้กับงานในวันพรุ่งนี้ไม่ได้ (Future Mindset) – ดร.นภดล ร่มโพธิ์

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้

“วิธีคิด” เป็นสิ่งที่ไม่เคยนึกมาก่อนว่า ต้องมีการอัพเกรด

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

ทำให้เรากลับมาทบทวน และพิจารณากับตัวเองว่า หลักการคิดบางอย่างของเราอาจจะล้าสมัยแล้วหรือเปล่า

และที่สำคัญ คือ ความคิด เป็นผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงาน การใช้ชีวิต โดยเฉพาะยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้

“วิธีคิด ก็ล้าสมัยได้เช่นกัน เพราะถ้าวิธีคิดยังไม่ได้รับการอัพเกรด ต่อให้พัฒนาความรู้ ทักษะมากแค่ไหนก็ยากที่จะตามโลกที่หมุนเร็วขึ้นทุกวันได้ทัน”

สรุปหนังสือ เมื่อวิธีคิดที่คุณมีใช้กับงานในวันพรุ่งนี้ไม่ได้ (Future Mindset) เขียนโดย ดร.นภดล ร่มโพธิ์

  • ถ้ายังไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ถ้ายังอยากเดินไปกับ “งาน” และ “โลก” ที่เปลี่ยนไปทุกวัน เราก็ต้องสร้างวิธีคิดใหม่
  • หากเราต้องการความสำเร็จ สิ่งแรกที่เราต้องเปลี่ยนคือ ความคิดของเราเอง และความคิดนี้ต้องเป็นความคิดที่นำเราไปสู่อนาคตมากกว่าความคิดที่เคยคิดตาม ๆ กันมาในอดีต
  • Don’t follow your passion, Follow your effort สิ่งไหนที่เราเก่ง เราก็จะชอบสิ่งนั้นในที่สุด ดังนั้น ให้ทำในสิ่งที่เราทำได้ดี แล้วยิ่งทำไปเรื่อย ๆ เราก็จะเก่งขึ้นเรื่อย ๆ และเราก็จะยิ่งชอบสิ่งนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน
  • เวลาวัดหรือประเมินอะไร อย่าลืมประเมิน 2 ด้าน นั่นคือ เราทำสิ่งนั้นได้ดีแค่ไหน (Performance (P)) และสิ่งนั้นสำคัญกับเราขนาดไหน (Importance (I)) เราเรียกมันว่า P-I Matrix
  • ถ้าอยากสำเร็จต้องทำสิ่งที่เรียกว่า Benchmarking คือ การเทียบเคียงกับคนที่เก่งกว่าหรือดีกว่าเราในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  • ลองคิดดูว่าปัญหาของเราคืออะไร และใครคือคนที่ทำเรื่องนั้นได้ดีที่สุด แล้วเริ่มทำ Benchmarking นี่แหละที่เป็น ทางลัดสู่ความสำเร็จ
  • คนสำเร็จไม่ใช่คนที่มีเวลาหรือทรัพยากรมากกว่าคนอื่น แต่เป็นคนที่เลือกใช้เวลาและทรัพยากรไปอย่างถูกจุดมากกว่า
  • Flow หรือ In the Zone คือ ภาวะที่ทุกอย่างลื่นไหล โดยเราจดจ่อกับสิ่งที่ทำอย่างมาก จนหลงลืมเวลา
  • หาภาวะลื่นไหลให้เจอ เพราะนั่นคือช่วงเวลาที่จะทำได้ดีและมี Productivity สูงสุด
  • วิธีเข้า Flow คือ เป็นงานที่เราชอบ และสนใจมาก ๆ งานต้องไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป และเป็นงานที่เห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว
  • ยอมรับว่า เราไม่สามารถเก่ง และไม่สามารถทำทุกเรื่องในระดับที่ดีที่สุดได้ จงเลือกว่างานไหนเป็นงานสำคัญ แล้วพัฒนา ทุ่มเทความสามารถในมันและทำให้ดีที่สุด
  • Work smart, Don’t work hard วัดที่ผลงาน ไม่ใช่ระยะเวลาที่ทำงานตอนดึก เพราะการอยู่ทำงานดึกไม่ได้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าคนคนนั้นทำงานดี
  • เทคนิคจัดการเวลา คือ ต้องเลือกงานที่จะทำ, จัดลำดับความสำคัญ, เลือกเวลาที่จะลงมือทำงาน, ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์, เลือกวิธีที่บรรลุเป้าหมาย โดยใช้เวลาน้อยที่สุด, แบ่งให้คนอื่นทำ และรู้จักปฏิเสธ
  • การใช้เวลากับเป้าหมายในชีวิตต้องสัมพันธ์กัน ถามตัวเองว่า “เรากำลังใช้เวลาเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่หรือเปล่า”
  • คนเรามักกลัวความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายมากกว่ากลัวว่าโอกาสที่มีจะหายไป
  • เรามักจะสนใจที่จะซื้อประกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้ แต่การที่เราไปดูหนัง เล่น Facebook เราเคยคิดไหมว่าเวลาที่เราใช้ไปกับกิจกรรมพวกนี้จะทำให้เราเสียโอกาสแทนที่จะไปทำงานหรือทำอะไรอย่างอื่น
  • ลองคิดดูว่าถ้าวันนี้เราไม่ทำงานนี้ เราจะสามารถสร้างรายได้จากงานอื่นประมาณเท่าไหร่ บางทีเราอาจจะพบว่าเราโยนโอกาสดี ๆ ทิ้งไปไม่น้อยเลยก็ได้
  • โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นไปตามที่ใจเราทุกเรื่อง คนที่ประสบความสำเร็จ คือ คนที่อดทนได้นานที่สุดก็เท่านั้น
  • ความลุ่มหลงในสิ่งที่ทำ (Passion) + ความอดทนไม่ย่อท้อ (Perseverance) = Grit
  • ความลุ่มหลงกับความอดทนเป็นอะไรที่ต้องอยู่คู่กัน ถ้าขาดอันใดอันหนึ่งไป เราก็จะไม่สำเร็จ
  • “เกือบสมบูรณ์แบบ” อาจดีกว่า “สมบูรณ์แบบ” เวลาเราพยายามทำอะไรให้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เรามักจะทุ่มเทเวลาและทรัพยากรมหาศาล ทว่าหลายครั้งสิ่งที่ได้มานั้นไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไป
  • อย่าให้คำว่า “สมบูรณ์แบบ” ทำให้เราละเลยเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญในชีวิต เช่น ไม่มีเวลาดูแลพ่อแม่ หรือไม่มีเวลาออกกำลังกาย
  • เทคนิคเพิ่ม Productivity แค่วางโทรศัพท์มือถือไว้ไกลตัว เวลาก็จะกลับคืนมามหาศาล
  • แบบประเมินงานในฝัน คือ งานมีความเป็นอิสระ ตรงกับความเชี่ยวชาญ ให้คุณค่ากับคนจำนวนมาก และสร้างรายได้ดี
  • คนที่ประสบความสำเร็จมักไม่ค่อยพูดคำว่า “จะ” หรือถ้าจะพูดก็น้อยมาก อาจจะมีแค่ครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น
  • ลดคำว่า “จะ” แล้วทำเลย และคิดให้ดีให้รอบคอบแล้วลงมือทำ เหมือนกับสโลแกนของ Nike ที่ว่า Just Do It
  • การหยุดพักและงีบทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น
  • การงีบ พยายามหาเวลางีบที่เหมาะสม สถานที่เงียบสงบ ปิดมือถือ ดื่มกาแฟก่อนนอน ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ให้ไม่เกิน 25 นาที และทำให้สม่ำเสมอ
  • การหยุดพัก แบ่งการหยุดพักออกเป็นช่วงสั้น ๆ หลาย ๆ ช่วง เช่น ทุก 20 นาที
  • “ความยุ่ง” คือ ตัวบ่งบอกถึงสิ่งผิดปกติ ถ้าเราเริ่ม “ยุ่ง” ติด ๆ กันตลอด แปลว่ามีอะไรที่ผิดปกติ และน่าจะต้องได้รับการแก้ไข
  • อาการ “ยุ่ง” คือ อาการที่เราต้องทำงาน และส่วนใหญ่เป็นการทำสิ่งที่เราไม่ชอบด้วย
  • วิธีลดความยุ่ง ต้องลด 2 มิติ เราต้องเริ่มค้นหางานที่เราชอบ และ ถ้ายังหางานที่ชอบไม่ได้ เราต้องหา “เวลา” เพิ่ม
  • เวลาที่เริ่มต้นทำอะไร จะส่งผลอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ เลือกจังหวะชีวิตเวลาให้ดี
  • ไม่มีเวลาที่ดีที่สุดสำหรับคนทุกคน เราต้องปรับตัวตามสิ่งที่เป็น หาเวลาที่ดีที่สุดของตัวเองให้เจอ แล้วทำงานตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
  • คำว่า Productive ไม่ใช่แค่การทำอะไรให้ได้ “มาก ๆ” ภายในเวลาน้อย ๆ เท่านั้น แต่มันยังต้องส่งผลกระทบอย่างสูงด้วย
  • การเรียนรู้ คือ การลงทุน ถ้าเรายอมเหนื่อยเรียนรู้เพิ่มเติม บางทีงานที่เราเคยใช้เวลา 5 ชั่วโมง เราอาจจะทำเสร็จภายใน 1 ชั่วโมงก็ได้
  • อย่าออกจาก Comfort Zone แบบก้าวกระโดด แต่ให้พยายามขยายค่อย ๆ ขยายขอบเขตของ Comfort Zone ออกไปเรื่อย ๆ
  • แรงจูงใจภายใน (งานที่รัก ของที่ชอบ สิ่งที่ชอบ) สำคัญไม่แพ้แรงจูงใจภายนอก (เงิน ทอง สิ่งของภายนอก) อย่ามองแต่แรงจูงใจภายนอกให้มองแรงจูงใจภายในด้วย
  • อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี หน้าที่ของเราคือหาความสมดุลระหว่าง 2 สิ่ง คือ สิ่งที่มากไป และสิ่งที่น้อยไป
  • โลกการทำงาน 2 ใบ
    1. โลกทางการตลาด (Market Norms) คือ โลกที่ใช้การแลกเปลี่ยนระหว่างเงินกับสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ถ้าเธอทำอันนี้ ฉันจะให้เงินเธอ
    2. โลกทางสังคม (Social Norms) คือโลกที่ใช้การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น วันนี้เราช่วยเพื่อนทำงาน วันหลังเพื่อนช่วยเรากลับ
  • การลงทุนเป็นส่วนสำคัญสำหรับคนทำงาน เพราะยิ่งอายุเยอะ แรงยิ่งน้อยลง เงินก็อาจจะน้อยตาม ดังนั้น การลงทุนจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
  • หลักการลงทุนแบบการปลูกไม้ยืนต้น เลิกคิดจะรวยเร็ว, เลือกลงทุนในบริษัทที่เราชอบและมีความเชื่อในสินค้า บริการที่มีแนวโน้มเติบโต และมีความมั่นคง และซื้อแล้วไม่คิดจะขาย
  • การลงทุนก็เหมือนการเลือกปลูกพันธุ์ไม้ดี ๆ จงรอคอยเวลาที่ต้นไม้ต้นนั้นค่อย ๆ เติบโตจนกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา และออกดอกออกผลต่อไป
  • ชีวิตการทำงานไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ การเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด คือ การเปลี่ยนความคิดของเราเอง

อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
33 responses
OMG
OMG
17
Love
Love
7
Like
Like
9
Sad
Sad
0
Dizzy
Dizzy
0
Sleepy
Sleepy
0