สรุปหนังสือคนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง เขียนโดย Satoshi Umeda

📚 สรุปหนังสือคนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือคนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง

กุญแจสำคัญของการพูดให้เก่ง ให้รู้เรื่องเริ่มต้นจาก “ความคิด” เราต้องมีความคิดที่ชัดเจน เป็นระเบียบ เป็นระบบ แล้วเราจะสามารถสื่อสารด้วยการพูด การเขียนให้ผู้ฟังได้อย่างชัดเจน แล้วเราจะทำให้ผู้คนอยากรับฟังสารของเรา

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือคนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง

“ยิ่งความคิดเติบใหญ่มากเท่าใด เราก็ยิ่งขัดเกลาคำพูดได้มากขึ้น”

สรุปหนังสือคนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง เขียนโดย Satoshi Umeda จากสํานักพิมพ์บิงโก

  • คำพูดที่มีพลังจะมีความคิดที่ดีอยู่เบื้องหลัง เพราะสิ่งที่เราคิดจะกลายเป็นสิ่งที่เราพูด ถ้าอยากพูดเก่ง ก็จงเริ่มต้นที่การปรับวิธีคิด
  • ถ้าเรามีระบบความคิดที่เป็นระบบ เราก็จะสามารถมีทักษะการพูดและเขียนที่ใครอ่านหรือฟังก็รู้เรื่องไปตลอดชีวิต
  • ถ้าอยากสื่อสารให้ เข้าถึงใจอีกฝ่าย เราไม่จำเป็นต้องพูดหรือเขียนให้ดีขึ้น แต่เราต้องรู้ตัวก่อนว่าความคิดของเราดีพอหรือยัง แล้วขัดเกลาความคิดนั้น
  • หัวใจสำคัญของการสื่อคือ ความคิดในหัวของเราสำคัญกว่าคำพูด เพราะจริงๆ แล้วสิ่งที่อีกฝ่ายอยากฟังคือความคิดไม่ใช่คำพูด
  • จงให้ความสำคัญกับความคิดมากกว่าคำพูด เพราะเมื่อเรารับรู้อยู่ตลอดว่า “ความคิดสำคัญกว่าคำพูด” คำพูดของเราก็จะชัดเจนขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะเราได้ใช้เวลาเรียบเรียงความคิดอย่างดีจนมันออกมาเป็นคำพูด
  • การสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายส่งสารและฝ่ายรับสาร การสื่อสารจะสำเร็จก็ต่อเมื่อผู้พูดกับผู้ฟังหรือผู้เขียนกับผู้อ่านต่างทำงานสอดประสานกัน
  • การสื่อสารมี 4 ระดับ ไม่เข้าใจ-เข้าใจผิด พอเข้าใจ ยอมรับและมีความรู้สึกร่วม (ทุกคนล้วนอยากสื่อสารไปให้ถึงระดับ “ยอมรับ” และ “มีความรู้สึกร่วม)
  • ปัญหาที่เราพูดแล้วคนไม่ฟังหรือไม่เข้าใจ ไม่ใช่เพราะคำพูด แต่ปัญหาใหญ่คือความคิด ที่อยู่เบื้องหลังคำพูดนั้นต่างหาก
  • คำพูดเกิดจากการเปลี่ยนความคิดให้กลายเป็นรูปเป็นร่าง หน้าที่หลักของคำพูดคือเป็นแค่เครื่องมือสำหรับสื่อสารกับคนอื่นก็เท่านั้น
  • แค่มีเทคนิคการพูดอย่างเดียวยังไม่ช่วยให้สื่อสารได้ดีหรือเข้าถึงใจคนได้ เราต้องสื่อสารออกมาจากความคิดของเราอย่างแท้จริง
  • วิธีการพัฒนาความคิดให้ลึกซึ้งคือ การหาเวลาอยู่คนเดียวและเผชิญหน้ากับความคิดด้วยการพูดคุยกับตัวเอง
  • สิ่งที่ต้องระวัง แม้คนอื่นจะบอกว่าเราพูดเก่งแค่ไหน แต่ถ้าคำพูดกับการกระทำของเรายังขัดแย้งกัน เราก็จะพบกับความเสียหายครั้งใหญ่ในที่สุด
  • ที่เราพูดไม่เก่ง ไม่ใช่ว่าเราไม่มีทักษะการพูด แต่เราขาดความคิด วัตถุดิบในหัวที่จะพูดต่างหาก
  • แม้เราจะใช้คำศัพท์ยาก ๆ หรือคำพูดไพเราะแค่ไหน ถ้ามันไม่เป็นประโยชน์ต่อการสื่อความคิดของเราก็ไม่มีความหมาย
  • การตัดสินว่าใคร พูดเก่งหรือไม่ ต้องตัดสินจากคำพูดนั้นว่าสั่นคลอนหัวใจของอีกฝ่ายได้หรือไม่
  • การใช้คำพูดเก่งเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้คนฟังมีอารมณ์ร่วมได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ คำพูดนั้นหนักแน่นหรือบางเบาแค่ไหนต่างหาก
  • คำพูดจะหนักแน่นได้ต้องมาจากความตั้งใจจริง คนพูดต้องพูดอย่างจริงใจจากประสบการณ์ของตัวเองหรือ พูดความรู้สึกจากหัวใจเป็นหลัก
  • ความตั้งใจจริง จริงจัง และมั่นคง ซึ่งอัดแน่นอยู่ในความคิดที่ปลูกฝังมาจากประสบการณ์จะเป็นตัวตัดสินว่า คำพูดของคนคนนั้นจะโดนใจคนหรือไม่
  • ถ้าอยากโน้มน้าวใจใครให้ได้ จงจำสิ่งนี้ว่า “ไม่มีใครชอบถูกบังคับ เราต้องพูดให้เขาอยากลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง”
  • จำไว้เสมอว่าเราจะไปบังคับใครไม่ได้ เราทำได้แค่สร้างอารมณ์หรือบรรยากาศด้วยคำพูดเพื่อโน้มน้าวให้เขาอยากลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง
  • คำพูดที่ดีนอกจากจะมีพลังโน้มน้าวใจคน แต่ยังมีพลังที่ทำให้คนอยากเริ่มลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง
  • ถ้าอยากโน้มน้าวให้คนลงมือทำสิ่งใด จงสื่อสารให้เข้าถึงใจเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เขา เพราะคนเราจะอยากลงมือทำเมื่อมีแรงบันดาลใจ
  • อย่าใช้เทคนิคเยอะ ยิ่งเราใช้เทคนิคพูดหว่านล้อม ก็ยิ่งดูเหมือนดูถูกผู้ฟัง หรือไม่เราเองก็ไร้ความสามารถในการเข้าถึง ความรู้สึกของอีกฝ่าย
  • สิ่งสำคัญสำหรับการโน้มน้าวใจคนคือ ไม่จำเป็นต้องใช้คำศัพท์ยากหรือไพเราะรื่นหู สำหรับถ่ายทอดความรู้สึกหรือความคิดของตัวเอง การขับเคลื่อนหัวใจคนต้องอาศัยคำพูดจากหัวใจ อันเกิดจากความจริงจังของตัวผู้พูดเอง
  • คำพูดที่จะประทับใจเข้าไปในความรู้สึกของผู้คนมักเป็นถ้อยคำที่เรียบง่ายหรือใช้คำศัพท์ที่ใครๆ ก็รู้จัก
  • ถ้าอยากสื่อสารได้ดีขึ้น เราต้องเข้าใจในสิ่งที่จะสื่อสารอย่างลึกซึ้ง และจำไว้ว่า “จงคิดในหัว ให้ลึกซึ้งก่อน”
  • คำพูดของเรามีจุดกำเนิดมาจากความคิดและความรู้สึก ตราบใดที่เรายังไม่เข้าใจสิ่งที่อยากพูดหรืออยากเขียนได้อย่างชัดเจน เราก็ไม่มีทางสื่อสารให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงได้
  • เมื่อเรามีความคิดที่ชัดเจนขึ้น เราก็จะพูดหรือสื่อสารออกมาได้ทรงพลังมากขึ้นด้วย
  • วงจรความคิดที่จะช่วยให้เราคิดสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น
    1. เขียนความคิดออกมา อย่าคิดเรื่อยเปื่อยอยู่ในหัว
    2. ดูว่าความคิดของเรายังมีช่องโหว่อะไร ตกหล่นตรงไหน
    3. คิดต่อยอดจนเกิดเป็นมุมมองใหม่
  • ถ้าความคิดของเราเป็นระเบียบ เป็นระบบ ชัดเจนแล้ว เราก็แค่พูดไปตามที่คิดก็พอ แค่นี้อีกฝ่ายก็เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นแล้ว
  • แต่ละคนต่างก็มีวิธีคิดแตกต่างกันไป วิธีคิดและวิธีเข้าใจเรื่องต่างๆ ของคนเราก็ล้วนแตกต่างกันมาก ดังนั้นเราต้องคิดในมองของคนอื่นไม่เช่นนั้นเราจะติดอยู่ในกรอบความคิดของตัวเองมากเกินไป
  • เวลาจะพูดกับใคร ถ้าเราลองเปลี่ยนมุมมองเป็น “ถ้าเป็นเขาจะคิดยังไง” มุมมองของเราจะขยายกว้างขึ้น ความคิดจะคมชัดและคำพูดภายนอกก็จะมีพลังขึ้น
  • ปัจจุบันเราใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างยุ่งเหยิง เราต้องหาเวลาเพื่อให้ตัวเองได้เผชิญหน้ากับความคิด ยิ่งไปกว่านั้นเราต้องหาเวลาให้ประจำแล้วทำต่อเนื่องจนกลายเป็นกิจวัตรด้วย
  • จงการสร้างคำพูดเพื่อคนเพียงคนเดียว เวลาเราอยากสื่อสารกับคนหมู่มาก เราไม่ควรคิดคำพูดสำหรับใช้กับทุกคน เพราะเมื่อเราคิดจะสื่อให้ถึงทุกคน เราก็จะสื่อไม่ถึงใครเลยสักคน
  • ระวังอย่าใช้คำพูดหรือสำนวนสูตรสำเร็จที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน มันสื่อความคิดหรือความรู้สึกได้ยาก คำพูดตายตัวพวกนี้จะเป็นเหมือนคำพูดที่ไร้อารมณ์
  • สรุป เราต้องเริ่มจากให้ความสำคัญกับความคิดในหัว ขยายและเจาะลึกความคิดให้คมชัดขึ้น แล้วจากนั้นเราค่อยเรียนวิธีใช้คำพูดการสื่อสารถึงจะได้ผล

อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
23 responses
OMG
OMG
7
Love
Love
12
Like
Like
4
Sad
Sad
0
Dizzy
Dizzy
0
Sleepy
Sleepy
0