สรุปหนังสือ ไม่ต้องฉลาด ก็มองเห็นโอกาสได้มากกว่าคนอื่น - โคมิยะ คาสุโยชิ

📚 สรุปหนังสือ ไม่ต้องฉลาด ก็มองเห็นโอกาสได้มากกว่าคนอื่น

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือไม่ต้องฉลาด ก็มองเห็นโอกาสได้มากกว่าคนอื่น

“การสังเกตเล็ก ๆ น้อย” สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมหาศาล คนหนึ่งคนสามารถมองเห็นโอกาส และสร้างความแตกต่างได้ ก็เพราะเค้าใส่ใจ สังเกตรายละเอียดมากกว่าคนอื่น ทุกสิ่ง แม้แต่เล็กน้อยสามารถเป็นวัตถุดิบให้ความคิดเราได้ และสิ่งนี้จะค่อย ๆ ก่อตัว เชื่อมโยง กลายเป็นสิ่งใหม่ได้

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้

“คนที่มองเห็นรายละเอียด เห็นการเชื่อมโยง และการสังเกต มักจะมีความสุข”

สรุปหนังสือ ไม่ต้องฉลาด ก็มองเห็นโอกาสได้มากกว่าคนอื่น เขียนโดย โคมิยะ คาสุโยชิ

  • ทั้ง ๆ ที่มองสิ่งเดียวกันหรือฟังเรื่องเดียว แต่ทำไมสิ่งที่คนอื่นเห็นกลับแตกต่างจากเรา ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าเราไม่มีข้อมูล แต่อยู่ที่ว่าเรา “มองเห็นข้อมูลน้อยกว่าคนเหล่านั้น”
  • แม้เราจะได้รับข้อมูลเดียวกัน แต่ข้อมูลที่แต่ละคนมองเห็นก็แตกต่างกันมากอยู่ดี
  • การเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น มี “เทคนิค” ของมันอยู่ คือ ทักษะ โครงสร้าง และหลักการของ “การเป็นคนตาไว”
  • ความช่างสังเกตและความคิดสร้างสรรค์อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน คือ การมองเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น
  • คนที่มองไม่เห็น ต่อให้มองเป็นหมื่นครั้งก็มองไม่เห็น เพราะไม่คิดจะรู้สิ่งที่ตัวเองไม่รู้
  • การมองเห็นรายละเอียดเป็นการฝึกความช่างสังเกตอย่างหนึ่ง
  • ถ้าเรามีเหตุจูงใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เราจะเริ่มมองเห็นรายละเอียด
  • เมื่อมีความสนใจ เราจะมองภาพรวมและเห็นรายละเอียดบางอย่าง หรืออย่างน้อยที่สุดเราก็ได้พยายามจะมอง
  • การมีเกณฑ์การประเมินหรือการตั้งข้อสันนิษฐาน ช่วยให้เรามองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ถ้าเรามีความสนใจ จะมองเห็นรายละเอียด ถ้าเราตั้งข้อสันนิษฐาน เราจะมองเห็นรายละเอียดอย่างครบถ้วน
  • ถ้าเราเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้มากกว่าคนอื่นแม้เพียงเล็กน้อย มุมมองของเราจะต่างไปจากเดิม
  • การฝึกคิดอย่างลึกซึ้งให้เป็นนิสัยจะช่วยให้เรามองเห็นรายละเอียดโดยอัตโนมัติ
  • กฎสำคัญในการมองเห็นรายละเอียดมี 2 ข้อ
    1. ถ้าเราใส่ใจ เราจะมองเห็นรายละเอียด
    2. ถ้าเรามีความคิดฝังใจ เราจะมองไม่เห็นรายละเอียด (ถ้าเราคิดฝังใจว่าไม่มีใครทำเงินหล่นหรอก เราก็จะมองไม่เห็นเงินหล่น)
  • เราจะมองแต่สิ่งที่เราใจหรือสิ่งที่สำคัญกับตัวเอง ความสนใจทำหน้าที่เป็นตัวคัดครอง
  • เราไม่ได้ดูทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในสายตา แต่จะคัดกรองสิ่งที่จะดูไว้ล่วงหน้า แล้วรับเอาเฉพาะข้อมูลนั้น
  • เราไม่ได้บันทึกทุกสิ่งทุกอย่างเป็นภาพในหัวเหมือนกล้องถ่ายรูป เราจะเลือกดูสิ่งที่เข้ามาในสายตา หรือ “ดู” เฉพาะสิ่งที่ตัดสินใจแล้วว่าจะดู
  • สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ การเลือกดูสิ่งสำคัญ
  • ยิ่งดูให้ลึก ก็ยิ่งรู้ว่าข้างหน้ายังมีสิ่งที่มองไม่เห็นอีกมามาย ยิ่งดูสิ่งต่าง ๆ ลึกเท่าไหร่ ก็ยิ่งรู้ว่ายังมีหลายสิ่งที่ต้องดู
  • สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการฝึกความช่างสังเกต คือ ตระหนักว่าตัวเองยังมีสิ่งที่มองไม่เห็นหรือไม่รู้
  • การมองเห็นอย่างผิวเผินแล้วทึกทักว่ารู้หมดแล้วเป็นเรื่องอันตราย
  • กฎสำคัญของการเป็นคนช่างสังเก
    1. ถ้าเราใส่ใจ เราจะมองเห็นรายละเอียด
    2. ถ้าเรามีความคิดฝังใจ เราจะมองไม่เห็นรายละเอียด
    3. คนเราเลือกดูเฉพาะสิ่งที่สำคัญกับตัวเอง
    4. คนเรามักจะมองไม่เห็นสิ่งที่สำคัญจริง
  • ก่อนอื่นต้องมีความสนใจ ถ้าความสนใจ เราจะเริ่มมอง และสิ่งนั้นจะเข้ามาอยู่ในสายตาโดยอัตโนมัติ
  • ข้อสันนิษฐานคือ “เกณฑ์การประเมิน” ถ้าเรามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยความสนใจและเกณฑ์การประเมินบางอย่าง เราจะมองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • เกณฑ์การประเมิน และข้อสันนิษฐาน เป็นตัวกำหนด ความช่างสังเกตของเรา
  • คนตาถึงจะสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างของแท้กับของปลอมได้ภายในเวลาไม่กี่นาที เพราะพวกเขามีข้อสันนิษฐานในการแยกแยะว่า จะดูตรงไหนและอย่างไร
  • การมีข้อสันนิษฐานที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ คุณจะรู้ข้อแตกต่างหรือจุดที่คล้ายคลึงของสิ่งต่าง ๆ ความสัมพันธ์กัน และความเกี่ยวเนื่องกันในแง่เหตุและผล
  • เมื่อเราตั้งข้อสันนิษฐานที่ถูกต้องได้ เราจะมองเห็นรายละเอียดอย่างแท้จริง
  • ที่มองไม่เห็นเพราะว่าไม่มีประเด็นสำคัญ ดังนั้น การแตกประเด็น ช่วยให้มองเห็นประเด็นสำคัญชัดเจนขึ้น เพียงเท่านี้ก็จะมองเห็นรายละเอียดได้มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การมีข้อสันนิษฐานจะช่วยให้มองเห็นรายละเอียดที่ไม่เคยเห็น
  • ช่วงแรกเริ่มจากกำหนดเป้าหมายความสนใจ แล้วให้มองเป้าหมายนั้นโดยใช้ข้อสันนิษฐานหรือเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ ส่วนเรื่องที่จะมองเห็นประเด็นสำคัญหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับทักษะในการตั้งข้อสันนิษฐานเพิ่มเติม
  • การมองเป้าหมายแล้วประเมินว่ามันน่าจะเป็นแบบนี้ จะช่วยพัฒนาทักษะในการตั้งข้อสันนิษฐานของคุณ
  • เช่น เรารู้สภาพเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นจากการสังเกตภายในรถไฟชินคันเซ็น แค่ดูว่าที่นั่งข้าง ๆ ในตู้รถไฟแบบพิเศษว่างหรือเปล่า
  • ก้าวแรกของการตั้งข้อสันนิษฐานคือ “ความสนใจ” ถ้ามีความสนใจ อย่างน้อยเป้าหมายก็จะอยู่ในสายตา
  • ก้าวต่อไป คือ การตั้งข้อสงสัยอะไรก็ได้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี เช่น เอ๊ะ ทำไม เป็นเพราะเหตุนี้หรือเปล่านะ
  • จากนั้นตั้งข้อสันนิษฐาน แล้วสังเกตเพื่อพิสูจน์ว่าข้อสันนิษฐานนั้นถูกต้องจริง ๆ หรือไม่
  • กระบวนการพิสูจน์ข้อสันนิษฐานนั้น จะทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิม และเปลี่ยนเราให้กลายเป็นคนตาไว
  • เมื่อมีความสนใจจริง ๆ เราจะเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ได้โดยสัญชาตญาณ และเมื่อเชื่อมโยงเรื่องราวแล้วพบแนวโน้มอะไรบางอย่าง นั่นคือ ข้อสันนิษฐาน
  • มีความสนใจ → เชื่อมโยงปรากฏการณ์ที่มีความสนใจกับเรื่องราวอื่น ๆ → มีข้อสงสัย → ตั้งข้อสันนิษฐานที่เป็นคำตอบข้อสงสัย → นำไปสู่คำตอบอย่างมีเหตุผล → พิสูจน์ข้อสันนิษฐาน
  • เทคนิคเพื่อการตั้งข้อสันนิษฐาน
    • เทคนิคที่ 1 : หาจุดที่เดาภาพรวมได้ (การหา “จุด” ที่สามารถเดาภาพรวมได้ แต่ถ้าเราหา “จุด” ผิด เราจะมองเรื่องราวผิดไปด้วย)
    • เทคนิคที่ 2 : การจับตาดูสิ่งที่หายไปหรือสิ่งที่ไม่มีแล้ว (จับตาดูสิ่งที่หายไปแบบนี้ จะมองเห็นรายละเอียดจากมุมอื่น เช่น เพียงแค่สังเกตโฆษณาทางโทรทัศน์ที่หายไปมากกว่าโฆษณาบนโลกออนไลน์ ก็จะรู้ว่าโลกธุรกิจกำลังถดถอย)
  • ไม่ว่าใครต่างก็มีอคติแตกต่างกันไป ซึ่งทำให้เรามองเรื่องราวผิด หรือสร้างสถานการณ์ที่บดบังสิ่งที่กำลังมองอยู่
  • ความน่ากลัวของอคติจะอยู่ในช่วงที่เราไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีอคติตั้งแต่แรก
  • การพิสูจน์ คือ การสังเกต ถ้าเราดูแล้วสังเกตเห็นว่ากรณีที่ไม่ตรงกับข้อสันนิษฐานมีปริมาณพอสมควร เราต้องยอมทิ้งข้อสันนิษฐานนั้นไป
  • วิธีช่วยให้มองเห็นรายละเอียด
    • แตกประเด็นแล้วมองเฉพาะประเด็นสำคัญ
    • จับตาดูสิ่งที่หายไป
    • คิดหาเหตุผลเรื่องที่สงสัยหรือเรื่องแปลกประหลาด
    • หาจุดที่เดาภาพรวมได้
    • สงสัยอคติ
  • วิธีฝึกความช่างสังเกต
    • เรียนรู้ให้มากกว่าคนอื่นเล็กน้อย
      1. พิจารณาเรื่องราวจากรากฐาน – คนที่พิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ จากรากฐานเท่านั้นที่จะมองเห็นรายละเอียดจนน่าประหลาดใจ และจะมองเห็น What ได้มากขึ้น
      2. ใช้ “เครื่องมือ” ให้เต็มที่ – เราจะมองเห็นเรื่องราวแตกต่างกันได้ชัดเมื่อใช้เครื่องมือ เครื่องมือ = โมเดล ใช้เป็นเกณฑ์ในการคิด วิเคราะห์ (เช่น ที่ปรึกษาด้านการบริหารมีเทคนิคเครื่องมือต่าง ๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์การบริหาร)
      3. สะสมความรู้ไว้แล้วนำมาเชื่อมโยงกัน – การจะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ มากกว่าคนอื่น สิ่งสำคัญคือเราต้องใฝ่หาความรู้มากกว่าคนอื่น และเพิ่มความรู้หรือลิ้นชัก
    • อ่านหนังสือพิมพ์
      1. อ่านหนังสือพิมพ์ไล่จากหน้าแรกทุกเช้า – การมีความสนใจที่หลากหลายจำเป็นต่อการมองเห็นรายละเอียด ซึ่งหนังสือพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่ดีในการเพิ่มความสนใจให้หลากหลาย
      2. อ่านตัวเลขเศรษฐกิจแบบจับประเด็นสำคัญ – อ่านหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจ จับจ้องตัวเลขเศรษฐกิจ
      3. ดูข้อมูลหลายตัวพร้อมกับคาดเดาความสัมพันธ์ – เชื่อมโยงข้อมูล จับมาต่อกัน จะช่วยมองเห็นรายละเอียดต่าง ๆ และรู้ว่าตอนนี้อะไรเกิดขึ้นบ้าง
      4. อ่านหนังสือพิมพ์หรือข้อมูลแบบตั้งข้อสันนิษฐาน – ถ้าเรามีความสนใจและข้อสันนิษฐาน เราจะมองเห็นรายละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก
    • ดูสิ่งปกติให้มาก ๆ
      1. ดูสิ่งที่ปกติจำนวนมาก ๆ (คุณหมอรู้ความผิดปกติได้จากการเห็นภาพรังสีของคนปกติในจำนวนมาก)
      2. เปรียบเทียบกับของธรรมดา ๆ (ถ้าเรารู้จักในสิ่งที่เป็นมาตรฐาน เราก็จะมองเห็นข้อดีของสิ่งที่ดีเลิศเกินระดับมาตรฐานทันที)
      3. เราทุกคนล้วนอยากจะดูสิ่งพิเศษให้ออก (ซึ่งสิ่งที่เราต้องทำคือ การดูของธรรมดา ๆ ให้มาก ๆ และหลากหลายอย่างสม่ำเสมอ)
    • หาวิธีแก้ปัญหาอย่างถึงที่สุด
      1. การสะสมประสบการณ์แก้ปัญหาไว้มาก ๆ จะสัมพันธ์กับทักษะในการมองเห็นปัญหา
      2. การทำอย่างถึงที่สุด การทำอย่างลึกซึ้ง ลองผิดลองถูก และพิถีพิถันจะช่วยให้เรามองเห็นรายละเอียด
  • เพิ่มความสนใจให้หลากหลายและลึกซึ้ง
    • เพิ่มลิ้นชัก – คนที่มีความสนใจหลากหลายจะมองเห็นรายละเอียดได้ง่าย เพราะว่ามี “ลิ้นชัก” มาก ยิ่งคุณมีลิ้นชักมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความสนใจมากเท่านั้น แถมยังตั้งข้อสันนิษฐานได้ง่าย
    • ฝึกฝนให้มีความสนใจอย่างลึกซึ้ง – เปิดรับสิ่งต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะช่วยให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน
    • มีความรับผิดชอบ – เมื่อเราตระหนักถึงความรับผิดชอบ เราจะมองเห็นสิ่งสำคัญ และจริงจัง (เช่น ประธานบริษัทมีความรับผิดชอบในฐานะผู้บริหาร เขาจะมีความสนใจทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบริษัท เรื่องทั้งหมดนั้นจะอยู่ในสายตาเขา)
    • สร้างแรงจูงใจให้คิดอย่างจริงจัง – แรงจูงใจ คือ พื้นฐานของการสร้างความสนใจ และการหมกมุ่น เช่น การท่องเที่ยวไปในเส้นทางที่ไม่รู้จัก
    • มีความคิดที่ถูกต้องเป็นพื้นฐาน – จะทำให้มองเห็นหลักการของสิ่งต่าง ๆ พอมีหลักการก็จะมองเห็นรายละเอียด
  • 10 เคล็ดลับการเป็นคนตาไว
    1. รู้ประเด็นสำคัญก่อน (แค่รู้ประเด็นก่อน จะช่วยให้มองเห็นรายละเอียดได้ง่ายขึ้น)
    2. แนะแนวหรือดูแนวทางให้ก่อน (เช่น การอ่านคู่มือท่องเที่ยวก่อนจะออกเดินทาง)
    3. แตกประเด็น แจกแจงรายละเอียด (เช่น ลองไปดูเสื้อผ้าที่ย่านสยามชั้น 2 ดู แทนที่จะบอกว่า เสื้อผ้าประเทศที่ไหนสวย)
    4. ลดจำนวนข้อมูล (ยิ่งป้อนข้อมูลให้น้อย ก็ยิ่งมองเห็นรายละเอียดได้ง่าย)
    5. จดบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นได้ทันที (พกสมุดจดหรือสมุดโน้ตติดตัวไว้เสมอ)
    6. เปรียบเทียบ (พื้นฐานแล้วเราตระหนักถึงสิ่งต่าง ๆ จากการเปรียบเทียบ)
    7. สับเปลี่ยนบางส่วน (เช่น เมื่อเราเปลี่ยนสายรองเท้า เรากลับเห็นว่ารองเท้าของมีรอยขาด)
    8. เปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ(เช่น เรามองกรวยจากด้านข้างเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่พอมองจากด้านบน กลับมองกรวยเห็นเป็นวงกลม)
    9. จับเข่าคุยกัน (การแลกเปลี่ยน การปะทะกันจะช่วยให้เรามองเห็นรายละเอียด)
    10. เป็นคนว่าง่าย เปิดใจกว้าง (ถ้าเราไม่ยอมรับมุมมองของคนอื่นอย่างว่าง่ายก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง)
  • การมองภาพรวมไปพร้อมกับดูส่วนที่ตัวเองสนใจอย่างระมัดระวัง และพิถีพิถันเป็นพิเศษนั้นช่วยให้มุมมองของเราเปลี่ยนไป
  • การเขียนสมุดบันทึกประจำวันเล่มละ 3 ปี ช่วยสร้างนิสัยชอบเปรียบเทียบมุมมองของตัวเองในปัจจุบันกับมุมมอง เมื่อ 1 ปีหรือ 2 ปีก่อน
  • เวลาที่คนเราทำอะไรอย่างจริงจังจะไม่มีคำว่า “ปานกลาง” มีแต่ “ชอบ” กับ “ไม่ชอบ”
  • การหาวิธีแก้ปัญหาอย่างถึงที่สุดจะช่วยเพิ่มทักษะในการมองเห็นปัญหาได้
  • การแก้ปัญหาเป็นเงื่อนไขแรกของการมองเห็นปัญหา เราไม่สามารถมองเห็นปัญหาได้ทันทีทันใด
  • เราจะรู้ข้อดีของสิ่งนั้น เมื่อมีสิ่งเปรียบเทียบ
  • ทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุผลของมัน เลขแต่ละตัวก็มีเหตุผลอยู่เบื้องหลัง

อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
49 responses
OMG
OMG
20
Love
Love
20
Like
Like
9
Sad
Sad
0
Dizzy
Dizzy
0
Sleepy
Sleepy
0