สรุปหนังสือ ใช้เวลาแค่วันละ 1 นาทีชีวิตดี 24 ชั่วโมง - Hiroyuki Miyake

📚 สรุปหนังสือ ใช้เวลาแค่วันละ 1 นาทีชีวิตดี 24 ชั่วโมง

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้

“เพียงเวลาแค่เล็กน้อย เช่น 1 นาที ต่อวัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้” ไม่มีมนุษย์คนไหนเกิดมาแล้ว ไป 10 ทุกคนต่างเริ่มต้นด้วย 1 การเริ่มต้นด้วย 1 นี่เอง จะส่งผลกระทบต่อให้เราเป็น 5 เป็น 10 เป็น 100 เป็น 1,000 แล้วเราจะได้ชีวิตที่ต้องการ แค่เริ่มต้นใช้เวลาวันละนิด ในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นคนที่ดีขึ้น

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้

“การเริ่มลงมือทำ เปรียบเหมือนการเหยียบคันเร่งให้วงล้อเริ่มหมุน”

สรุปหนังสือ ใช้เวลาแค่วันละ 1 นาทีชีวิตดี 24 ชั่วโมง เขียนโดย Hiroyuki Miyake

  • ความแตกต่างระหว่างคนที่เปลี่ยนตัวเองได้ตามเป้าหมายกับคนที่ยังไปไม่ถึงฝั่งฝันอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับความ “ตั้งใจ” แต่เป็นเรื่อง “วิธีการ”
  • สิ่งสำคัญ คือ เราต้องเริ่มจาก “จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ” ก่อน จากนั้นจึงค่อย “สร้างแนวทาง” ให้เราสามารถลงมือทำตามขั้นตอนต่อไปได้เรื่อย ๆ
  • การมีแรงบันดาลใจไม่ได้ช่วยให้เราลงมือปฏิบัติได้จริง แต่การลงมือปฏิบัติต่างหากที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เพิ่มมากขึ้น
  • เปลี่ยนจากรอแรงบันดาลใจ แล้วลงมือทำทีหลัง เปลี่ยนเป็น ลงมือทำก่อน แล้วแรงบันดาลใจจะตามมาเอง
  • วงล้อแห่งพฤติกรรม คือ ลงมือทำในสิ่งเล็ก ๆ → เกิดความมุ่งมั่น (มีแรงบันดาลใจ) → ลงมือทำอย่างอื่นอีก → มีความมั่นใจ → เกิดวิสัยทัศน์ใหม่ → ลงมือทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

สิ่งเล็กน้อยในตอนเช้า จะทำให้ทุกวันของเราเปลี่ยนไป

  • ความรู้สึกนึกคิดในตอนเช้า จะส่งผลต่อทั้งวันที่เหลือของเรา
  • สิ่งเล็กน้อยที่ทำทุกเช้าเพื่อสร้างความรู้สึกในแง่บวกให้กับตัวเองก็คือ การตั้งคำถามเชิงบวกกับตัวเอง
  • ความคิดของทุกคนเกิดขึ้นจากการถาม-ตอบ การที่เราคิดอะไรออกมาได้ นั่นเป็นเพราะเรารู้จักตั้งคำถามขึ้นในหัวโดยไม่รู้ตัว มันคือ กระบวนการเกิดความคิดของคนเรา การจะได้คำตอบที่ดี ต้องเริ่มจากการตั้งคำถามที่ดีก่อน
  • เช่น ถ้าถามตัวเองว่า “ระยะนี้เรารู้สึกแย่กับเรื่องอะไรบ้าง” เราจะนึกถึงเรื่องแย่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบคำถามนี้ แต่ถ้าเราถามว่า “ระยะนี้เรากำลังสนุกกับเรื่องอะไรบ้าง” สมองเราก็จะประมวลแต่เรื่องสนุก ๆ
  • ลองเปลี่ยนวิธีตั้งคำถามกับตัวเอง เพราะมันจะส่งผลให้ความคิดและความรู้สึกของเราเปลี่ยนไปด้วย
  • ทุกเช้า ให้พูดถึงเป้าหมายด้วยการอ่านออกเสียง
  • สร้างความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ → ทำสำเร็จ → เกิดความมั่นใจ → สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ขึ้น → ทำสำเร็จ → เกิดความมั่นใจ → กล้าที่จะทำเรื่องท้าทาย
  • การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย จะเป็นแรงส่งให้สู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่
  • การเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันเพียงเล็กน้อยจากเดิม ออกจากกรอบเดิม ๆ จะช่วยให้ชีวิตกลับมากระตือรือร้น ตื่นเต้น มีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเราจะมองการเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นเรื่องสนุก
  • “ทดลองทำสิ่งแปลกใหม่ 1 อย่างทุกวัน” เช่น เดินเข้าร้านสะดวกซื้อแล้วซื้อเครื่องดื่มออกใหม่ หรือ เปลี่ยนเส้นทางที่ใช้เดินทางไปทำงาน
  • แค่ลองทำสิ่งแปลกใหม่ 1 อย่างทุกวัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเรื่อย ๆ เราจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ซึ่งการรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวเองทำให้เรารู้สึกดี
  • Dash 5 นาที คือ การแบ่งเวลาอย่างน้อย 5 นาทีทุกเช้า เพื่อทำงานสำคัญที่ไม่มีกำหนดเส้นตาย หรืองานสำคัญที่เรากำลังผัดวันประกันพรุ่งอยู่
  • งานบางอย่างเราอาจมองว่าน่าจะใช้เวลานาน แต่พอลงมือทำจริง ๆ กลับรู้สึกว่าใช้เวลาน้อยกว่าที่คิด
  • เวลาทำงานใหญ่ ๆ หรืองานที่ไม่เคยทำมาก่อน เราจะคาดเดาไม่ได้ว่าจะเป็นงานที่ยาก หรือต้องใช้เวลาแค่ไหน เราจึงต้อง “ลองทำดู” สัก 5 นาที แล้วเราจะค่อย ๆ มองเห็นแนวทางว่าต้องทำอย่างไรต่อดี
  • Sinking 10 นาที คือ การใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที เพื่อคิดเรื่องงาน เช่น คิดว่าทำอย่างไรจึงจะทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำอย่างไรจึงจะหาไอเดียใหม่ ๆ
  • หากเรากำหนดเวลาสำหรับ Dash 5 นาที และ Sinking 10 นาที ประสิทธิภาพการทำงานของเราจะดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อ
  • สร้างการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงด้วย หลักหนึ่งคน หนึ่งพฤติกรรม (One Person, One Action) เวลาได้เจอใครเป็นครั้งแรก ต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเสมอ เช่น ถ้าคุยกันเรื่องหนังสือ เราก็จะไปซื้อหนังสือที่เขาพูดถึงมาอ่าน 
  • การเลือกใช้คำส่งผลต่อสมอง และส่งผลต่อสภาพจิตใจ เปลี่ยนคำพูดจาก “ต้อง” เป็น “อยาก” เช่น ต้องอ่านหนังสือ เป็น อยากอ่านหนังสือ
  • เวลาพูดถึงเป้าหมาย เช่น “ฉันจะไม่นอนตื่นสาย” จิตใต้สำนึกเราจะคิดถึงการตื่นสาย ท้ายที่สุดเราอาจตื่นสายเข้าจริง ๆ ให้เปลี่ยนเป็น “ฉันจะตื่นเวลาตี 5 ทุ่มวัน”
  • จงพยายามสร้างสถานการณ์บีบบังคับตัวเอง แล้วร่างกายจะลงมือทำจนได้ เช่น บอกเพื่อนสนิทว่า ปีหน้าฉันจะสอบโทอิคให้เกิน 900 คะแนนให้ได้

ทำสิ่งท้าทายเล็ก ๆ ทุกวันเพื่อพัฒนาตัวเองขึ้นทีละน้อย

  • เทคนิคการอ่านหนังสือแบบหนึ่งเล่ม สามหลัก หนึ่งพฤติกรรม (One Book, Three Points, One Action)
  • เวลาอ่านหนังสือให้คิดว่า เราต้องหาความรู้ให้ได้อย่างน้อย 3 ขอ และต้องมี 1 ข้อ ที่นำมาปฏิบัติได้จริง
  • เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาแทน ลองทิ้งของใช้เก่า ๆ ทุกเดือน
  • เมื่อโอกาสเข้ามาในชีวิต จงคิดว่าเป็นสัญญาณสำหรับการพุ่งเข้าชน อย่ามัวลังเล แม้จะคิดว่าตัวเองไม่พร้อม
  • เวลาที่ลังเลว่า “จะเลือก A หรือ B ดี” ให้ลองถามตัวเองว่า “เราจะชอบตัวเองที่เลือกทำแบบไหน”
  • เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชน หากเรามีโอกาสแต่ไม่ลงมือทำ ให้นึกถึงคนที่อยากทำ แต่ไม่มีโอกาสได้ทำ
  • การจะทำงานด้วยความรู้สึกที่ดีได้ สิ่งสำคัญคือ การหยุดความคิดที่ว่าเราต้องทำงานด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบ
  • ยิ่งเราทำให้คนอื่นได้รับสิ่งใด เราก็จะได้รับสิ่งนั้นตอบแทน เช่น การที่ใจเรามีพลัง เป็นเพราะเวลานั้นเราได้สร้างพลังให้คนอื่น
  • คนที่ไม่สามารถลงมือทำอะไรได้สักที ส่วนใหญ่ก็เพราะกังวลกับผลลัพธ์มากเกินไป
  • จงตั้งเป้าหมายไว้ที่การลงมือทำก่อน เมื่อเครื่องเริ่มติด เราค่อยมุ่งประเด็นที่ผลลัพธ์
  • ความกลัวและความกังวลไม่ใช่เรื่องแย่ ตัวเรานี่ละที่เป็นคนสร้างความรู้สึกในแง่ลบขึ้นมา แต่ก็เพื่อตัวเรานั่นเอง
  • “ที่เรากังวลนั้น ก็เพื่ออะไรบางอย่าง” เพราะเบื้องหลังความรู้สึกในแง่ลบ จะต้องมีความคิดในแง่บวกเสมอ
  • ความกลัว และความกังวล เกิดขึ้นเวลาที่เรากำลังจะทำสิ่งใหม่ ๆ จงคิดว่าเป็นเหมือนสัญญาณเตือนให้เราทำสิ่งที่ดีขึ้นนั่นเอง แล้วเราจะยอมรับในความกลัวและความกังวลนั้นได้
  • คนเราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตัวอย่างเช่น คนที่อยากเปลี่ยนงาน
    1. คนที่ใช้ความกลัวเป็นแรงผลักดัน จะบอกตัวเองว่า “ถ้าทำงานนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จะดีหรือ”
    2. คนที่ใช้จุดมุ่งหมายเป็นแรงผลักดัน จะบอกตัวเองว่า “ฉันอยากทำงานที่ดีกว่านี้เพื่ออนาคตที่สดใส”
  • ความกลัว คือ ไฟเขียวที่บอกให้เราเดินหน้า
  • เบื้องหลังความตื่นเต้นดีใจ มักมีความกลัวและความกังวลซ่อนอยู่เสมอ และเบื้องหลังความกังวล ก็มีความตื่นเต้นว่าเราต้องทำสำเร็จซ่อนอยู่เช่นกัน เช่น เราตื่นเต้นเวลาดูการแข่งฟุตบอล ก็เป็นเพราะเรากังวลว่าทีมที่เราเชียร์อาจจะแพ้ แต่หากรู้ ตั้งแต่แรกว่าอย่างไรก็ต้องชนะ เราก็คงไม่รู้สึกตื่นเต้น
  • หากเราอยากจะเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ สักอย่าง ให้เริ่มทำตอนเช้าจะง่ายที่สุด
  • หากเทียบระหว่างการเข้างานเร็วกว่ากำหนด 2 ชม กับ การทำงานล่วงเวลาหลังเลิกงาน 2 ชม ตอนเช้าจะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
  • ยากระตุ้นการตื่นเช้าที่ดีที่สุด คือ “การส่งข้อความแจ้งตื่น” เช่น ส่งข้อความหาใครสักคนทุกเช้าเพื่อบอกว่า ฉันตื่นนอนแล้วนะ (และห้ามส่งข้อความขณะยังนอนอยู่บนเตียง)
  • เคล็ดลับสู่ความสำเร็จคือ การตั้งเป้าหมายแบบเป็นขั้นตอน  เช่น ท่องและคัดคำศัพท์ใหม่ ๆ ทุกวัน วันละ 20 คำ
  • หากคนเราใช้เวลาเหมือน ๆ กันทำในสิ่งเดียวกัน ผลที่ออกมามักไม่แตกต่าง แต่หากเราใช้วิธีที่ต่างกับคนอื่น ย่อมให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันออกไป
  • ตั้งคำปฏิญาณ แล้วรักษาคำมั่นนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของชัยชนะ เช่น ต้องอ่านหนังสือวันละ 1 เล่มทุกวัน,  ฉันจะออกกำลังกายทุกวัน หรือ ฉันจะไม่กินอะไรหลัง 2 ทุ่ม
  • ตั้ง “กฎสำหรับตัวเอง” ช่วยบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น ห้ามเปิด Facebook ยกเว้นกรณีต้องติดต่อคุยงาน หรือ นอกจากช่วงเวลานอน ห้ามอยู่บนเตียง
  • อย่ามุ่งรอแต่ถึงเป้าหมายก่อน จงมีความสุขไปกับเส้นทางที่ต้องวิ่งผ่านด้วย เพื่อให้เราสามารถวิ่งได้นาน ๆ
  • ลองตั้งเวลา จับเวลา สมองความคิดและร่างกายของเราจะเปลี่ยนโหมดทันที และมันคือ จุดเริ่มต้นของการลงมือทำ
  • ยิ่งเราเหนื่อยยากแค่ไหน ความสำเร็จก็จะยิ่งใหญ่ขึ้นเท่านั้น
  • เมื่อเราผ่านพ้นความท้อแท้ไปได้ ทิวทัศน์ที่งดงามก็จะปรากฏขึ้นตรงหน้า
  • การพยายามทุ่มเทกับสิ่งสำคัญตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ทำให้ผลงานนั้นมีคุณภาพ และส่งผลไปถึงสิ่งอื่น ๆ
  • สาเหตุของผลงานที่ต่างกันนั้นอยู่ที่การให้ความสำคัญกับสิ่งพื้นฐาน 
  • ก่อนจะเลิกทำสิ่งนั้น ให้ลองทำต่อ “อีก 1 นาที” แล้วเราจะรับความรู้สึกดีกับตัวเอง และยังส่งผลต่อการลงมือทำครั้งต่อไปด้วย

 ทำชีวิตให้มีความหมายขึ้นด้วย “การเขียน”

  • ทำอย่างไรให้เขียนบันทึกประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง เคล็ดลับ คือ ไม่ต้องเขียนทุกวัน
  • แค่สร้างนิสัยให้เขียนเมื่อมีเวลาว่าง แค่นี้เราก็ไม่หยุดเขียนกลางคันและทำได้อย่างต่อเนื่อง
  • ไม่ต้องฝืนเขียนทุกวัน ให้เขียนเฉพาะเวลาที่อยากเขียน เขียนเฉพาะเรื่องที่สำคัญสำหรับเรา เรื่องที่เราคิดอยู่ตลอดเวลา
  • “บันทึกการทำงาน” ช่วยให้เราเห็นการเติบโตของตัวเอง
    • ทำให้เราไม่ลืมว่าเราเคยทำงานไม่เป็นมาก่อน
    • ทำให้เราเห็นถึงพัฒนาการของตัวเอง เราก็จะมีแรงทำงานในวันต่อ ๆ ไป
    • ช่วยให้เราลืมเรื่องแย่ ๆ เพราะการได้เขียน เหมือนการระบายเรื่องแย่ ๆ ออกมา
  • โดยธรรมชาติแล้ว “การไม่เข้าใจถึงปัญหา” เป็นสิ่งที่สมองเราเกลียดและทำให้เรากังวลมากที่สุด
  • การเขียนเป็นตัวหนังสือออกมา จะทำให้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร และมองเห็นถึงต้นเหตุของปัญหา
  • พื้นฐานของการทำธุรกิจคือ การทำอะไรสักอย่างให้กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ผู้อื่นยินดี การทำให้ผู้อื่นสนุก
  • การเอาใจใส่ผู้อื่นได้ เราต้องเริ่มจากการเอาใจใส่ตัวเองก่อน หากเรายังดูแลตัวเองไม่ได้ ย่อมไม่สามารถดูแลคนอื่นได้
  • การอ่านคำปฏิญาณให้ตัวเองฟัง ช่วยเลิกบุหรี่ เช่น เขียนว่า “เราไม่อยากสูบบุหรี่” แล้วพกกระดาษแผ่นนั้นติดตัวไว้ตลอดเวลา พอนึกอยากสูบขึ้นมาเมื่อไร ก็ให้หยิบออกมาอ่าน
  • การที่เลิกทำอะไรสักอย่าง ย่อมมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นเสมอ และสิ่งที่ได้มา มันมักจะยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่เราเสียไป
  • ความสุขอันยิ่งใหญ่จากความสำเร็จที่แลกมาด้วยความมานะอุตสาหะ
  • เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเรานั้นล้วนมีผลยิ่งใหญ่ต่อตัวเราเสมอ แต่ถ้าเราไม่ย้อนกลับไปดู มันก็จะผ่านไปโดยที่เราไม่ทันได้รู้ตัว
  • บันทึกประจำวัน ช่วยให้เราสามารถย้อนกลับไปมองอนาคต แล้วสังเกตเห็นสิ่งที่สำคัญที่เราเคยมองข้ามไปได้
  • จงจำไว้ว่า สิ่งที่เราทำในอดีตส่งผลต่ออนาคตของเราเสมอ
  • บางครั้งคนเราก็มักลืมเรื่องที่คนอื่นทำให้หรือของที่ได้รับจากคนอื่นได้ง่าย
  • เราจะต้องไม่ลืมความผิดพลาดที่ตัวเองเคยทำ เพื่อที่จะได้มีความมุ่งมั่นในการทำอะไรเพื่อผู้อื่นโดยไม่ลืมความนอบน้อม
  • การทำให้ 0 กลายเป็น 1 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเรา
  • เมื่อ 0 กลายเป็น 1 เมื่อไร มันจะสามารถเพิ่มจาก 1 เป็น 5 เป็น 10 เป็น 100 ได้อย่างรวดเร็ว
  • เพียงแค่เปลี่ยน 1 นาที หลังตื่นนอนตอนเช้า วันนั้นทั้งวันของเราก็จะเปลี่ยนไป
  • หากเราเปลี่ยนได้ 1 วัน ทั้งสัปดาห์ก็จะเปลี่ยนไป หากเราเปลี่ยนได้ 1 สัปดาห์ เราก็สามารถเปลี่ยน 1 เดือน 1 ปี 5 ปี และต่อไปได้อีกเรื่อย ๆ