สรุปหนังสือ เล็งให้แม่น เก็งให้รวย ทางสู่ความสำเร็จในการเล่นหุ้น ที่ดิน ทองคำ เงินตราต่างประเทศ และธุรกิจการเก็งกำไรอื่นๆ (The Zurich Axioms) เขียนโดย Max Gunther

📚 สรุปหนังสือ เล็งให้แม่น เก็งให้รวย ทางสู่ความสำเร็จในการเล่นหุ้น ที่ดิน ทองคำ เงินตราต่างประเทศ และธุรกิจการเก็งกำไรอื่นๆ (The Zurich Axioms)

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้

หนังสือเล่มเล็ก ๆ แต่อ่านแล้วได้ข้อคิด และรู้ว่าการเก็งกำไรมีหลักการยังไง และที่สำคัญคือ เข้าใจมุมมองคนที่เก็งกำไรว่าเขามีมุมมองยังไง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลกว่าวิธีการเสียอีก

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้

“ใครก็ตามที่สามารถควบคุมความโลภของตนเองได้ เขาผู้นั้นก็จะมีภาษีเหนือกว่าคนที่เหลืออีก 99% ทันที”

สรุปหนังสือ เล็งให้แม่น เก็งให้รวย ทางสู่ความสำเร็จในการเล่นหุ้น ที่ดิน ทองคำ เงินตราต่างประเทศ และธุรกิจการเก็งกำไรอื่นๆ (The Zurich Axioms) เขียนโดย Max Gunther

เรื่องของความเสี่ยง

  • คุณต้องเสี่ยง เพื่อที่จะทำให้ชีวิตมีผลตอบแทนหรือกำไรมากขึ้น เราจะต้องนำทรัพย์สินหรือความรู้สึกบางอย่างไปเสี่ยง เราจะต้องยอมเสียสละเงินทอง เวลา ความรัก หรืออะไรก็ตาม เพราะนั่นคือ กฎของจักรวาล (ชาวสวิสรู้สิ่งนี้ดี)
  • วิถีทางที่ดีในการอยู่รอดคือ การหันหน้าไปเผชิญความเสี่ยง ไม่ใช่การหันหลังให้กับมัน แต่เป็นการเสี่ยงที่ใช้ความคิด การบริหารความเสี่ยงและความรอบคอบ
  • จงคุ้นเคยและสนุกกับความกังวล สิ่งที่เราจะต้องเจอ คือ ความกังวล มันคือส่วนหนึ่งของชีวิต ดังเช่น เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ในหนังสือกล่าวไว้ว่า “มันคือวิถีทางที่ผมต้องการ ผมจะไม่มีวันสนุกกับชีวิตเลย ถ้าหากผมรู้อยู่แก่ใจตลอดเวลาว่า ผมจะรวยขนาดไหนในวันรุ่งขึ้น” เช่นเดียวกับนักลงทุนหลาย่ท่านในวอลล์สตรีทต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “อาการของความกังวลอย่างสม่ำเสมอคือส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขา พวกเขาน้อยคนนักที่จะบ่นความกังวลเป็นสิ่งไม่ดี หากแต่ทุกคนจะชื่นชมกับมัน
  • เสี่ยงด้วยจำนวนเงินทุนที่มากพอจะดีกว่า เพราะเราอาจจะลงเอยด้วยผลลัพธ์ที่มีความหมายก็ได้
  • ในการเก็งกำไร เราจะต้องเริ่มต้นด้วยจำนวนที่สามารถทำให้เราเจ็บได้ ซึ่งถ้าเป็นจำนวนน้อยแล้ว ก็ขอให้เป็นจำนวนที่ทำให้เรากังวล จากนั้นค่อย ๆ หาประสบการณ์และความมั่นใจและค่อย ๆ เพิ่มการเงิน
  • หลีกเลี่ยงการกระจายความเสี่ยง เพราะการกระจายความเสี่ยงสามารถลดระดับความเสี่ยงในการลงทุนได้ก็จริง แต่มันก็ลดความหวังที่คุณจะร่ำรวยกับเขาไปด้วยเช่นกัน
    • การกระจายความเสี่ยงขัดกกับหลักการ เราควรเล่นเพื่อผลลัพธ์ที่มีคุณค่าพอเท่านั้น
    • การกระจายความเสี่ยงทำให้ผลกำไรและขาดทุนของหุ้น แต่ละตัวลบล้างกันไป ผลคือคุณจบลงที่จุดตั้งต้น

เรื่องของความโลภ (ON GREED)

  • ถ้าหากเราลดระดับความโลภลงได้แล้ว โอกาสที่คุณจะร่ำรวยย่อมมีมากขึ้น
  • วิธีขจัดความโลภเกินเหตุ คือ พยายามคิดถึงความร่ำรวยเอาไว้ (ข้อนี้แปลก เดี๋ยวต้องลองลงมือทำดู)
  • นักเก็งกำไรทุกคนควรจะเกลียดและกลัวความโลภ เพราะมันคือศัตรูของเรา
  • อาการขายหมู และรู้สึกเสียดาย ความเจ็บปวดชนิดนี้ คือสิ่งที่นักเสี่ยงโชคทุกคนจำต้องทนกับมัน
  • จงพนันในระยะเวลาสั้น ๆ และรู้จักประมาณตน อย่าให้ความโลภครอบงำเราได้โดยเด็ดขาด เมื่อใดที่เราทำกำไรได้พอควรแล้ว ขอให้หยุดเล่นทันที
  • เราควรจะหยุดเล่น และเก็บเงินเข้ากระเป๋าก่อนที่โชคของเราจะหมดไป จงอย่าพยายามเล่นจนเฮือกสุดท้าย เพราะโอกาสที่เราจะเป็นผู้ชนะจนถึงจุดนั้นคงเป็นไปได้น้อยมาก
  • เท่าไหร่จึงจะพอ? จงตัดสินใจก่อนว่าเราต้องการทำกำไรเท่าไร และจงเลิกเล่นทันทีที่เราทำได้ตามเป้านั้น
  • เมื่อเข้าเส้นชัย จงให้รางวัลตัวเอง เช่น เจสซี ลิเวอร์มอร์ เองก็ใช้วิธีนี้ เมื่อเขาทำกำไรเม็ดโต เขาจะซื้อโบราณวัตถุเป็นรางวัลให้ตนเอง

เรื่องของความหวัง (ON HOPE)

  • ถ้าเรือกำลังจะเล่ม อย่ามัวแต่สวดภาวนา ให้กระโดดลงน้ำทันที อย่าตั้งความหวังหรือสวดภาวนาให้ทุกอย่างดีขึ้น จริงอยู่สิ่งนี้คือสิ่งที่ดี ควรแก่ปฏิบัติ แต่ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องสำหรับการเก็งกำไร
  • รู้ว่าเมื่อไร ควรจะเลิกเล่น
  • เราต้องยอมเสียสละเงินส่วนน้อย (Cut Loss) เพื่อป้องกันตนเองจากการสูญเสียเงินก้อนใหญ่
  • 3 อุปสรรคที่ทำให้เราไม่สามารถ cut loss
    • ความกลัวว่าจะผิดหวัง กลัวว่าหุ้นที่เราขายทิ้งจะมีราคาสูงขึ้นอีก และทำเราพลาดโอกาสทองไป
    • ความเสียดายต่อการขาดทุน หลายคนจะรู้สึกเจ็บใจต่อการขาดทุนเสมอ
    • มนุษย์เรามักจะปากแข็ง และการไม่ยอมรับว่าตนเองผิด
  • จงถือว่าการสูญเสียเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นเรื่องปกติแบบเดียวกับการเสียภาษี หรือจ่ายค่าไฟ มันจะทำให้คุณสบายใจขึ้น ก่อนที่จะทำกำไรได้อย่างมหาศาลในวันข้างหน้า

เรื่องของการพยากรณ์ (ON FORECAST)

  • ตลาดหุ้น คือที่รวมความรู้สึกของมนุษย์จำนวนมาก
  • ราคาของหุ้นจะขึ้นหรือลงก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มนุษย์คิด ทำ และรู้สึก ราคาของบริษัทหนึ่ง ๆ ไม่ได้ขยับสูงขึ้นเนื่องจากตัวเลขในงบการเงินเปลี่ยน หรือเกิดจากการที่อนาคตของบริษัทจะไปได้ดี หากแต่เกิดจากที่มนุษย์ คิดว่า อนาคตของบริษัทจะดีขึ้นต่างหาก
  • จงอย่าได้หลงเชื่อคำพยากรณ์ทุกชนิดในโลกแห่งการเงิน ซึ่งเป็นโลกที่หล่อหลอมด้วยพฤติกรรมมนุษย์นั้น ไม่มีนักพยากรณ์ผู้ใดสามารถมองเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง ขอให้จำไว้ว่า ไม่มีใคร ที่มีความสามารถเช่นนั้น
  • เราไม่สามารถรวยได้โดยการใช้คำพยากรณ์เป็นรากฐานในการตัดสินใจเก็งกำไร
  • นักเก็งกำไรที่ประสบการณ์สำเร็จจะไม่ทำตามสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น แต่พวกเขาจะสนองตอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ณ ปัจจุบัน

เรื่องของความมีระเบียบ (ON PATTERNS)

  • ความสับสนไม่ใช่เรื่องอันตราย แต่ถ้าเมื่อใดมันกลายเป็นความมีระเบียบแล้วก็ขอให้ระวังให้ดี
  • โลกแห่งการเงินเป็นโลกที่ไม่มีระเบียบและเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย ไม่มีสูตรหรือกฎที่ตายตัวแน่นอน
  • ความมีระเบียบอาจปรากฏให้เห็นเป็นครั้งเป็นคราวบ้างเหมือนกัน แต่นั้นเป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วครู่ ชั่วยามเท่านั้น ดังนั้นการยึดถือกับสิ่งที่ปรากฏการณ์ชั่วคราวจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมควร
  • ยิ่งเรามองมองว่าเรามีสูตรที่ชัดเจนในการเก็งกำไร เราก็ยิ่งจะเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น
  • ระวังกับดักจากประวัติศาสตร์ (the Historian’s Trap) อย่าหลงเชื่อกับดักนี้ ถึงแม้ว่าบางครั้งประวัติศาสตร์อาจจะเกิดซ้ำรอยเดิม แต่โดยทั่วไปแล้วมันไม่เป็นเช่นนั้น และถึงแม้ว่ามันจะเกิดซ้ำรอย เราก็จะไม่มีพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำว่าเมื่อไรมันจะเกิดขึ้นอีก
  • ระวังภาพลวงตาจากกราฟ (the Chartist’s Illusion) กราฟจะช่วยให้เรามองเห็นอะไรได้ชัดเจนกว่าตัวเลขเป็นกองภูเขา แต่กราฟก็มีโทษตรงที่ว่ามันทำให้เราเกิดความเชื่อเกินกว่าความเป็นจริง
  • ระวังกับดักของนักการพนัน (the Gambler’s Fallacy) ควรทดสอบดวงก่อนที่จะลงมือพนันอย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นด้วยการพนันเงินจำนวนน้อยเสียก่อน

เรื่องของการเคลื่อนย้าย (ON MOBILITY)

  • จงอย่างอกราก เพราะมันเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายหรือตัดสินใจของเรา
  • อย่ายึดติดกับดักของการลงทุนที่ไร้อนาคต ด้วยสาเหตุมาจากความผูกพันหรือความเสียดาย
  • อย่าผูกพันกับหุ้นตัวใด ตัวหนึ่ง
  • ถ้ามีการลงทุนใหม่ที่น่าสนใจกว่า ก็ขอให้ลืมของเก่าเสีย

เรื่องของทัศนคติการมองโลก (ON OPTIMISM AND PESSIMISM)

  • จงอย่าตัดสินใจโดยอาศัยการมองโลกในแง่ดี แต่เพียงอย่างเดียว แต่ให้มองหาความมั่นใจจะเหมาะกว่า ความมั่นใจมิได้มาจากการตั้งความหวังว่าสิ่งที่ดีที่สุดจะบังเกิด หากแต่ทราบว่าเราจะจัดการกับสิ่งที่เลวร้ายที่สุดอย่างไร
  • ทุกครั้งที่มองอะไรในแง่ดี จงคิดให้รอบคอบเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพราะอย่างน้อย เราคงจะตัดสินใจผิดประมาณ 50% เสมอ ถ้าเราเชื่อตามนั้น
  • การมองโลกในแง่ดีอาจกลายเป็นศัตรูตัวร้ายกาจของนักลงทุนได้ เพราะการมองโลกในแง่ดีทำให้ทุกฝ่ายสบายใจจนลืมตัว และเกิดอุปสรรคกีดขวางการตัดสินใจที่ดี
  • มืออาชีพจะไม่ได้มองอะไรในแง่ดีเสมอไป แต่พวกเขาจะมีความมั่นใจ ซึ่งเป็นความมั่นใจที่เกิดจากการใช้การมองโลกในแง่ร้ายอย่างถูกจังหวะ
  • ไม่ควรตัดสินใจโดยอาศัยทัศนคติของโลกในแง่ดีเท่านั้น ก่อนที่เราจะลงทุนขอให้ถามตนเองก่อนว่า ทางออกของเราคืออะไร ถ้าหากทุกอย่างผิดพลาด และเมื่อไรที่เราทราบคำตอบนี้ล่วงหน้า ความมั่นใจจะบังเกิด

เรื่องของเสียงส่วนใหญ่ (ON CONSENSUS)

  • อย่าฟังเสียงส่วนใหญ่ เพราะมันอาจจะผิดได้
  • อย่าเก็งกำไรตามคนส่วนใหญ่ ในหลาย ๆ ครั้ง จังหวะที่เหมาะแก่การซื้อมากที่สุด คือ เมื่อทุกคนบอกไม่ว่า “ไม่ควรซื้อ”
  • จังหวะที่เหมาะแก่การซื้อที่สุด คือ ช่วงที่ทุกคนไม่สนใจ เช่น ซื้อหุ้นในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ช่วงที่คนส่วนใหญ่มองโลกแง่ร้าย หรือซื้อภาพเขียนที่คนเกือบจะเอามาเป็นกระดาษห่อของ เป็นต้น

เรื่องของความดื้อรั้น (ON STUBBORNNESS)

  • ถ้าผลลัพธ์ครั้งก่อนหน้าไม่คุ้มค่า ก็ขอจงให้ลืมมันเสีย อย่าลืมว่าโลกเรานี้มีการลงทุนให้เลือกนับไม่ถ้วน ทำไมเราจะต้องฝังใจเลือกการลงทุนชนิดเดียวหรือคนเดียวล่ะ?
  • อย่าพยายามบรรเทาความเสียหายของการลงทุนที่พลาดไปด้วยการ เฉลี่ยความเสียหายให้น้อยลง
  • เลือกซื้อหุ้นอย่างอิสระ โดยดูจากโอกาสหรือแนวโน้มของมันเอง ไม่ใช่ตามความรู้สึก

อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
18 responses
OMG
OMG
0
Love
Love
10
Like
Like
8
Sad
Sad
0
Dizzy
Dizzy
0
Sleepy
Sleepy
0