สรุปหนังสือ น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20 (What I Wish I Knew When I was 20) เขียนโดย Tina Seelig

📚 สรุปหนังสือ น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20 (What I Wish I Knew When I was 20)

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้

“ชีวิต” คือ ห้องเรียนขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยคำถาม และคำตอบมากมาย เต็มไปด้วยความล้มเหลว ผิดหวัง ผิดพลาด ความไม่รู้ และปัญหาอีกมากมาย แต่สิ่งเหล่านี้ คือ เหรียญอีกด้านของ “ความสำเร็จ” ที่คนส่วนใหญ่มักไม่เห็นคุณค่า และหลีกเลี่ยง

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

ถ้าเราอยากคว้าความสำเร็จนั้น สิ่งที่ต้องทำ คือ เผชิญหน้ากับมัน โดยการปรับเปลี่ยนมุมมอง บิดความคิดของเราต่อสิ่งเหล่านั้น แล้วเราจะพบโอกาสมากมาย ซึ่งโอกาสเหล่านี้เอง คือ ขั้นบันไดแต่ละขั้นที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จที่ปรารถนา

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้

“โอกาส เกิดจากการดึงตัวเองออกจากเขตแดนแห่งความสบายใจ เต็มใจที่จะล้มเหลว เมินเฉยต่อความเป็นไปไม่ได้ และฉกฉวยทุกโอกาสที่จะสร้างสิ่งมหัศจรรย์”

สรุปหนังสือ น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20 (What I Wish I Knew When I was 20) เขียนโดย Tina Seelig

  • ปัญหา = โอกาส
  • โอกาสมีอยู่อย่างเหลือล้น ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งใด หรือในเวลาใดก็ตาม
  • โลกใบนี้เต็มไปด้วยประตูที่เราสามารถเปิดสู่โอกาส ขอเพียงแค่เต็มใจที่จะเปิดมันออกมาเท่านั้น
  • ลองมองไปรอบตัว จะค้นพบว่ามีปัญหาที่สามารถแก้ไขได้เสมอ บางปัญหาก็เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป บางปัญหาก็มีขนาดใหญ่ อาจส่งผลต่อโลกทั้งใบเลยก็ได้
  • ทุกปัญหา มีหนทาง ไม่ว่าปัญหาจะมีขนาดใหญ่แค่ไหน เราก็สามารถคิดหาวิธีการที่สร้างสรรค์ เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เข้าไปแก้ไขปัญหานั้นได้
  • ทุกปัญหารอให้เราเข้าไปแก้ และรอให้เปลี่ยนเป็นธุรกิจได้เสมอ
  • ผู้ประกอบการ คือ คนที่คอยมองหาปัญหาที่สามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสได้ แล้วคิดหาวิธีการที่สร้างสรรค์เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • เรามักคิดว่าปัญหาเป็นสิ่งที่ยากที่จะแก้ จึงมองไม่เห็นว่ามีทางออกที่สร้างสรรค์รออยู่ตรงหน้าแล้ว
  • เรามักจะตีกรอบปัญหาแคบจนเกินไป เมื่อถูกท้าทายด้วยปัญหาอันเรียบง่าย ทำให้เรามองไม่เห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ
  • การมองภาพกว้าง ๆ จะช่วยให้เรามองเห็นโลกแห่งความเป็นไปได้มากขึ้น
  • มองปัญหาด้วยมุมมองของความเป็นไปได้มากขึ้น และเต็มใจที่จะเปิดรับโอกาสที่ผ่านเข้ามาในเส้นทางของตนเอง
  • ทักษะการคิดแบบผู้ประกอบการถือเป็นกุญแจดอกสำคัญในการแก้ปัญหา
  • กฎเกณฑ์ที่สอนกันในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัยมักจะแตกต่างจากกฎเกณฑ์ในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง
  • ในชั้นเรียน อาจารย์คือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้เรา แต่ในโลกหลังเรียนจบ เราต้องเป็นอาจารย์ของตัวเอง ทำหน้าที่ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องรู้อะไร ต้องหาข้อมูลจากที่ไหน และจะใช้วิธีไหนเพื่อเรียนรู้มัน
  • ชีวิตจริงไม่มีอาจารย์เก่ง ๆ คอยชี้ทางให้
  • ชีวิตจริงเหมือนกับการสอบที่อนุญาตให้เอาตำราเข้าไปได้ ประตูชีวิตมักจะเปิดกว้างอยู่เสมอ ปัญหาที่ไม่มีคำตอบตายตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ครอบครัว เพื่อนฝูง หรือโลกทั้งใบ
  • ในชั้นเรียน ผู้เรียนมักต้องทำข้อสอบแบบปรนัย ซึ่งคำถามแต่ละข้อจะมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว แต่ในชีวิตจริง คำถามแต่ละข้อ จะมีคำตอบที่หลากหลาย และคำตอบเหล่านั้นก็มักจะถูกต้องในทาง ใดทางหนึ่งเสมอ ที่สำคัญที่สุดคือ ความล้มเหลว ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
  • ชีวิตเต็มไปด้วยการก้าวย่างที่ผิดพลาด มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
  • กุญแจสู่ความสำเร็จ คือ ความสามารถในการกลั่นกรองบทเรียนที่ได้รับจากความผิดพลาด แล้วเดินหน้าต่อไปด้วยความรู้ใหม่ ๆ ที่เพิ่งได้รับ
  • เราไม่จำเป็นต้องเลือกเส้นทางที่ถูกต้องตั้งแต่แรก ชีวิตจะมอบโอกาสมากมายให้ได้ทดลอง
  • การตัดสินใจเลือกทุกครั้งย่อมมาพร้อมกับความไม่แน่นอน แต่เมื่อได้เห็นว่าคนอื่นจัดการกับความไม่แน่นอนที่คล้ายคลึงกันอย่างไร ก็จะเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้น เมื่อนั้นความเครียดจะแปรเปลี่ยนไปเป็นความตื่นเต้น แล้วปัญหาที่เผชิญอยู่ก็จะกลายเป็นโอกาสไปในที่สุด
  • เราสามารถท้าทายตัวเองได้ทุก ๆ วัน โดยการเลือกจะปรับมุมมองกับปัญหาที่แตกต่างออกไป
  • ยิ่งจัดการกับปัญหาได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมั่นใจและเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหามากเท่านั้น จากนั้นเราจะหาทางทำเงินกับมันได้ในที่สุด
  • มนุษย์เราสามารถแก้ไขปัญหาใด ๆ ก็ตามได้ ขอเพียงแค่เปิดโอกาสให้ตัวเองได้มองในมุมที่ต่างออกไป
  • การมองหาปัญหาใหม่ ๆ แล้วเข้าไปหาทางออกให้กับมัน จะมอบรางวัลอันล้ำค่า
  • ลองเลือกปัญหาขึ้นมาสักหนึ่งเรื่อง แล้วสุ่มเลือกสิ่งของรอบ ๆ ตัวขึ้นมาชิ้นหนึ่ง จากนั้นให้เราคิดว่า เราจะใช้ของชิ้นนี้แก้ปัญหาได้ยังไง
  • ก้าวแรกของการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ คือ การบ่งชี้ปัญหาออกมาให้ได้ก่อน (ถ้าเราตีโจทย์ให้แตก ทางออกก็จะปรากฏขึ้นตามมาเอง)
  • ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นมาจากการค้นหาความต้องการ และบ่งชี้ปัญหาอย่างชัดเจน แล้วเปลี่ยนมันให้กลายเป็นโอกาส
  • การพยายามแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ ด้วยแนวทางที่สร้างสรรค์ (การสร้างความหมาย) ย่อมมีแนวโน้มที่จะทำเงินได้มากกว่าการยึดเงินเป็นเป้าหมายในท้ายที่สุด
  • การแก้ปัญหาต้องอาศัยไหวพริบในการสังเกต ทำงานเป็นทีม ลงมือทำตามแผน ความเต็มใจที่จะเรียนรู้จากความล้มเหลว ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดว่าไม่ว่าปัญหาไหน ก็สามารถแก้ไขได้
  • การมีเป้าหมายใหญ่ ดีกว่าการมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เพราะยืดหยุ่นกว่า มีทางเลือกมากกว่า โอกาสผิดพลาดน้อยกว่า และผลตอบแทนดีกว่า
  • ไม่มีแนวคิดใดที่แย่ ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวคิดที่มีคุณค่าเท่านั้นที่เป็นไปได้เท่านั้น
  • พยายามแหกกฎด้วยการจินตนาการถึงโลกที่แตกต่างออกไป โลกที่ไร้ซึ่งข้อจำกัด
  • แหกกฎ เดินเส้นทางใหม่ดูบ้าง เราอาจจะพบสิ่งที่มหัศจรรย์อยู่ตรงนั้น ซึ่งไม่มีใครเคยค้นพบมาก่อน
  • อย่ากลัวที่จะเดินออกจากเขตแดนแห่งความสบาย เมินเฉยต่อความเป็นไปไม่ได้ทั้งปวง ท้าทายแนวคิดเดิม ๆ ที่ฝังแน่นอยู่ในหัว
  • สิ่งเดียวที่จำกัดตัวเราเอาไว้มีแต่พลังงาน และจินตนาการของเราเท่านั้น
  • โลกของเรามีคนอยู่ 2 แบบ
    1. คนที่ต้องรอให้คนอื่นอนุญาตก่อนจะลงมือทำสิ่งที่อยากทำ
    2. คนที่อนุญาตให้ตัวเองทำสิ่งที่อยากทำ
  • ไขว่คว้าโอกาสด้วยตัวเอง อย่ามัวรอให้ใครสักคนหยิบยื่นมันมาให้
  • ปรับเปลี่ยนทักษะของตัวเองเข้าหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  • งานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า คนที่เต็มใจจะขยายขอบเขตของทักษะที่มีอยู่ และกล้าเสี่ยงจะลองทำอะไรใหม่ ๆ มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่เชื่อว่าตัวเองมีทักษะ และความสามารถที่ตายตัว ซึ่งจำกัดพวกเขาไว้กับบทบาทใดบทบาทหนึ่ง
  • คนที่ประสบความสำเร็จ คือ คนที่มีความเต็มใจที่จะทำงานหนักกว่าคนอื่น มีพลังงานที่จะขับเคลื่อนตัวเองไปข้างหน้ามากกว่า และแรงผลักดันที่จะทำให้มันกลายเป็นจริง
  • จำไว้ว่า มีผลประโยชน์ที่รอให้เราเข้าไปตักตวงอยู่เสมอ อย่ารอจนกว่าจะมีใครขอให้ทำ อย่ามัวแต่รอโอกาส
  • ฝึกเขียนประวัติส่วนตัวที่สรุปความล้มเหลวครั้งใหญ่ที่สุดทั้งหมดเอาไว้ ทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องการทำงาน และเรื่องเรียน สำหรับล้มเหลวแต่ละอย่าง ต้องอธิบายว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรจากมันบ้าง
  • การเรียนรู้ของมนุษย์เราล้วนเกิดจากความล้มเหลวเพราะความล้มเหลวเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ของเรา
  • ความล้มเหลวเปิดโอกาสให้เราเรียนรู้ และลดความเป็นไปได้ที่จะทำผิดซ้ำสอง
  • ความล้มเหลวเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากล้ารับมือกับความท้าทายที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะ
  • ถ้าเราไม่เคยล้มเหลว นั่นหมายความว่า เราอาจจะยังเสี่ยงไม่มากพอ
  • การมองความล้มเหลวว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ถือเป็นคุณลักษณะเด่นของสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ
  • เส้นทางสู่ความสำเร็จ มีแต่ความล้มเหลวอยู่เกลื่อนกลาด
  • การล้มเลิกไม่ได้หมายว่าเราอ่อนแอ แต่เป็นทางเลือกที่กล้าหาญที่สุด เพราะมันบีบให้เราต้องเผชิญหน้ากับความล้มเหลว และประกาศให้คนอื่นรู้โดยทั่วกัน
  • การล้มเลิก ทำให้เรากลับมาทบทวนเป้าหมายของเราอีกครั้ง
  • การเรียนรู้ว่าควรจะล้มเลิกเมื่อไหร่ ควรปล่อยวางจากแนวคิดที่ใช้ไม่ได้ผล และเมื่อไหร่ที่ควรก้าวไปสู่อะไรใหม่ ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญ
  • ถ้าหากก้าวเท้าออกไป และทดลองทำสิ่งต่าง ๆ เราก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่อยู่เฉย ๆ และรอให้โชควิ่งเข้ามาหาเอง
  • เมื่ออยู่บนเส้นทางที่ไม่มั่นคง และคาดการณ์ไม่ได้ เราจะเติบโต และประสบความสำเร็จโดยรวมมากกว่าเวลาที่เราอยู่บนเส้นทางที่มั่นคง และคาดการณ์ได้
  • ถ้าพยายามก้าวไปให้ไกลเกินกว่าขีดจำกัดของตัวเอง และเต็มใจที่จะพลาดพลั้งระหว่างทาง เราก็จะมีแนวโน้มสูงมากที่สุดจะประสบความสำเร็จ
  • เมื่อ plot กราฟของผู้ที่ประสบความสำเร็จ เราจะพบว่าเส้นกราฟจะมีลักษณะขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา
  • สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จ ก้นหลุมของความล้มเหลว จะถูกรองด้วยยางที่พร้อมจะเด้งกลับทุกเมื่อ
  • ถ้าจะลองเสี่ยงครั้งใหญ่ได้ เราก็ต้องพิจารณาผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมด และต้องยอมรับมันให้ได้ก่อน
  • การเรียนรู้จากผู้อื่น สามารถลดโอกาสที่จะล้มเหลวได้
  • จำไว้ว่าตัวเราเองไม่ใช่ความล้มเหลว เพราะความล้มเหลวเป็นแค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น
  • การศึกษาวิจัยพบว่า อัตราส่วนระหว่างความสำเร็จกับความล้มเหลว จะคงที่ไปตลอด ดังนั้น ถ้าอยากประสบความสำเร็จมากขึ้น ก็ต้องพร้อมที่จะล้มเหลวมากขึ้นเช่นกัน
  • เขียนเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และเขียนอุปสรรคทั้งหมดที่ขวางกั้นไม่ให้พวกเราไปถึงเป้าหมายนั้นออกมา
  • การก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้นเป็นความรับผิดชอบของตัวเราเองตั้งแต่ต้นจนจบ
  • เรา คือ ผู้รับผิดชอบชีวิตของเราเอง เราไม่อาจหาข้อแก้ตัวให้กับการไม่ทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มร้อยได้
  • เราควรก้าวไปข้างหน้าด้วยแรงผลักดันมากกว่าการชอบแข่งขัน
  • ทำสิ่งที่รัก + รู้จักความสามารถตนเอง + มีคนต้องการ = ความสำเร็จ
  • เมื่อได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก ย่อมมีแนวโน้มที่จะทุ่มเททำงานหนักกว่าปกติโดยอัตโนมัติ
  • ความรักเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ทำให้เราอยากจะทำงานหนักเพื่อพัฒนาทักษะให้สมบูรณ์แบบ
  • ผู้ที่ประสบความสำเร็จล้วนมีมุมมองเห็นตรงกันว่า อย่าพยายามวางแผนเส้นทางอาชีพอย่างเคร่งครัดจนเกินไป และควรทำงานในองค์กรที่ช่วยให้ได้พบกับโอกาสดี ๆ ตลอดเวลา
  • สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การประเมินชีวิต และอาชีพการงานของเราอย่างสม่ำเสมอ
  • เราจำเป็นต้องมองหางานที่ไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าเป็นการทำงาน ซึ่งเป็นจุดที่ทับซ้อนกันระหว่าง ทักษะ + ความรัก + ความต้องการของตลาด
  • การค้นหางานที่เหมาะสมต้องอาศัยการทดลองไปตลอดเส้นทาง
  • การทำงานหนักและการอุทิศตัวเป็นกุญแจสำคัญที่จะดึงดูดโชคดีให้เข้ามาหาเรา แต่เป็นแค่เครื่องมือชิ้นหนึ่งเท่านั้น ยังมีเครื่องมืออีกหลายชิ้นซึ่งจะทำหน้าที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดความโชคดีได้
  • คนที่โชคดี จะมีคุณลักษณะบางประการร่วมกัน
    • คนที่โชคดีใช้ประโยชน์จากเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นกับชีวิตของตน
    • คนที่โชคดีจะเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ และเต็มใจที่จะทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ
    • คนที่โชคดีจะเป็นคนที่ชอบเข้าสังคม
    • คนที่โชคดีจะมองโลกในแง่ดีและคาดหวังว่าจะมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้น
  • เราไม่มีทางรู้เลยว่า เมื่อไหร่ที่ประสบการณ์ของเราจะกลายเป็นสิ่งมีค่า จงเก็บรวบรวมประสบการณ์อันหลากหลายโดยไม่สนใจประโยชน์ในระยะสั้น
  • ยิ่งมีประสบการณ์ และมีฐานความรู้ที่กว้างขวางมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีทรัพยากรให้ดึงออกมาใช้ได้มากเท่านั้น
  • การแสดงความซาบซึ้งในสิ่งที่คนอื่นทำให้เรา จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมุมมองของพวกเขาเกี่ยวกับตัวเรา
  • ทุกสิ่งที่ใครบางคนทำให้เรานั้นมาพร้อมกับค่าเสียโอกาสของเขา หากใครบางคนสละเวลามาใส่ใจคุณ ก็ย่อมต้องมีบางสิ่งที่เขาไม่ได้ทำให้ตัวเองหรือคนอื่นในเวลานั้น
  • ทักษะรักษาและเพิ่มพูนชื่อเสียง
    • จำไว้ว่าบนโลกใบนี้มีคนเพียง 50 คน เราต้องไม่ตัดสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะอยากทำเช่นนั้นมากแค่ไหนก็ตาม
    • เราจะต้องเจอกับผู้คนมากมายที่ปรากฏตัวขึ้นมาในชีวิตอย่างไม่หยุดหย่อน
    • ชื่อเสียงเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของเรา จงรักษามันไว้ให้ดี
  • ทักษะการต่อรอง
    • การปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นต้องอาศัยการต่อรองทั้งนั้น เช่น เราต่อรองกับเพื่อนว่าจะทำอะไรในคืนวันเสาร์ เราต่อรองกับพนักงานขายให้ลดราคารถยนต์
    • กุญแจสำคัญของการเจรจาต่อรองที่ประสบความสำเร็จ คือ การค้นหาผลประโยชน์ของทุกฝ่าย เพื่อให้เราสามารถช่วยพวกเขาให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
  • ทักษะการช่วยเหลือผู้อื่น
    • คนที่มีน้ำใจ และชอบช่วยเหลือผู้อื่น จะเป็นคนที่ใคร ๆ ก็อยากช่วยเหลือกลับเป็นการตอบแทน

บทเรียนสำคัญ

  • จงเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ท้าทายสมมุติฐาน มองโลกในแง่มุมใหม่ ทดลองทำอะไรใหม่ ๆ ลิ้มลองความล้มเหลว วางแผนเส้นทางชีวิต และทดสอบขีดจำกัดของตัวเอง
  • เราทุกคนต่างก็ได้รับอนุญาตให้ทดลอง พลาดพลั้ง และให้พยายามใหม่อีกครั้ง เพียงแต่ต้องมองให้ออกว่า คนที่อนุญาตไม่ใช่คนอื่น แต่เป็นตัวเราเอง
  • เราแต่ละคนกำหนดวิธีการมองโลกของตัวเอง
  • อย่าจริงจังกับตัวเองมากเกินไป และอย่าตัดสินคนอื่นรุนแรงเกินไป
  • เกือบทุกสิ่งในชีวิต ไม่ได้มีความสำคัญมากเหมือนอย่างที่เรารู้สึกตอนที่มันเกิดขึ้น
  • ความสำเร็จนั้นหอมหวาน แต่ก็เพียงชั่วประเดี๋ยวประด๋าว
  • ไม่ควรเอาตัวเองไปผูกกับตำแหน่งในปัจจุบัน หรือหลงใหลในเสียงชื่นชมของคนอื่น
  • ดื่มด่ำกับการเป็นจุดสนใจตอนที่ยังยืนอยู่บนเวที แต่เตรียมพร้อมที่จะลงจากเวทีเมื่อถึงเวลา
  • เมื่อเราอายุมากขึ้นหรือต้องเผชิญกับโรคร้ายที่คุกคามชีวิต ทุกอย่างก็จะเริ่มชัดเจนมากขึ้นเรื่อย
  • ความไม่แน่นอน คือ แก่นของชีวิต และต้นตอของโอกาส

อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
53 responses
OMG
OMG
15
Love
Love
24
Like
Like
13
Sad
Sad
1
Dizzy
Dizzy
0
Sleepy
Sleepy
0