สรุปหนังสือ ความลับของเศษเหรียญ ใช้เงินก้อนเล็กดึงดูด เงินก้อนโต - Junichiro Kameda

📚 สรุปหนังสือ ความลับของเศษเหรียญ ใช้เงินก้อนเล็กดึงดูด เงินก้อนโต

👋 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือความลับของเศษเหรียญ ใช้เงินก้อนเล็กดึงดูด เงินก้อนโต

“เงิน” ไม่ได้มีมุมแค่ใช้แลกเปลี่ยนเท่านั้น มันยังมีมุมด้านอื่นด้วย เช่น เงิน เปรียบเสมือนมนุษย์คนหนึ่งที่มีชีวิต มีจิตใจ เมื่อมีมุมมองเช่นนี้ต่อเงิน เราก็จะปฏิบัติต่อเงินด้วยความทะนุถนอม เห็นคุณค่า เข้าอก เข้าใจ นำไปสู่การใช้จ่ายเงินด้วยมุมมองใหม่ คือ มองการใช้เงินเพื่อให้ได้คุณค่าบางอย่าง ไม่ใช่เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ต้องการบางอย่าง

ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ใครสนใจ อย่าลืมไปติดตามกันได้นะครับ : ) 🙏
blank
ตอนนี้เรามีช่อง YouTube แล้ว! Podcast สำหรับคนรักหนังสือและการพัฒนาตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ กดติดตาม ผมจะรู้สึกดีมากครับ
blank

😎 1 ประโยคที่ชอบที่สุดของหนังสือเล่มนี้

“ถึงเงินที่อยู่ตรงหน้าเราจะเป็น 1 บาท 1,000 บาท 100,000 บาท หรือ 100,000,000 ล้านบาท แต่ถ้าเรารู้สึกอิ่มเอมใจเท่ากันหมด นี่เรียกได้ว่า เรามีความมั่งคั่งอย่างแท้จริง”

สรุปหนังสือ ความลับของเศษเหรียญ ใช้เงินก้อนเล็กดึงดูด เงินก้อนโต เขียนโดย Junichiro Kameda

  • ถ้ามีเหรียญหนึ่งบาทตกอยู่ข้างถนน เราจะเก็บมันขึ้นมาไหม? การตัดสินใจเลือกจะเก็บหรือไม่เก็บ จะทำให้รู้ได้เลยว่า ตอนนี้ เราหาเงินเก่งแค่ไหน
  • การเก็บเหรียญหนึ่งบาท เป็นพฤติกรรมที่มีนัยลึกซึ้งกว่าที่คิด เป็นการแสดงการให้ความสำคัญกับเงินอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นกี่บาทก็ตาม
  • คนที่หาเงินเก่งจะมี 2 สิ่งนี้
    1. พวกเขามีความรู้สึกที่เป็นบวกต่อเงิน – ไม่เลือกที่รักมักที่ชังราวกับว่ามองดูคนรัก รวมถึงมีอารมณ์แจ่มใสและอ่อนโยนกับเงินเสมอ
    2. พวกเขาปฏิบัติต่อเงินอย่างรู้ค่าเสมอ – มีท่าทีต่อเงินอย่างทะนุถนอมราวกับว่ากำลัง ปฏิบัติของสำคัญ
  • ความรู้สึกและท่าทีที่แสดงออกมาต่อเงิน จะสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองในการใช้ชีวิตความคิด และทัศนคติที่เรามีต่อสิ่งรอบตัวทั้งหมดด้วย ไม่เฉพาะแต่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว
  • คนที่หาเงินเก่งจะปฏิบัติต่อเงินเหมือนกับปฏิบัติต่อคน
  • ถ้าปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม ก็จะปฏิบัติต่อเงินอย่างเท่าเทียมเช่นกัน ไม่ว่าเงินนั้นจะมีจำนวนมากหรือน้อยก็ตาม
  • ความรู้สึกแวบแรกที่เห็นเหรียญหนึ่งบาท หล่นอยู่ข้างถนนจะบ่งบอกถึงธาตุแท้ของคนคนนั้นที่มีต่อเงิน
  • คนที่ล้มเหลว จะปฏิบัติต่อเงินคล้ายกัน คือ ดูถูกเงินจำนวนเล็กน้อย
  • ถ้าอยากสร้างความรู้สึกดีต่อเงินขึ้นมา สิ่งสำคัญคือ ต้องรู้จักใส่ใจเสียก่อน
  • ตั้งกฎเศษเหรียญในแบบของตัวเอง เพื่อมาช่วยให้ตระหนักถึงความสำคัญ และแสดงถึงความใส่ใจเรื่องเงิน
    • ตั้งกฎไว้ว่าจะ เช็กเศษเหรียญ ทุกเช้า โดยการแยกเหรียญ เช่น เหรียญ 1 บาท 5 บาท 10 บาท
  • แยกกระเป๋าใส่เหรียญออกจากกระเป๋าสตางค์ เพื่อให้เห็นคุณค่า และใส่ใจกับเหรียญเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • กระเป๋าสตางค์ของคนที่หาเงินเก่ง จะไม่ได้เป็นเพียงอุปกรณ์ใส่เงิน หรือเครื่องประดับเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงออกถึง ความเอาใจใส่ต่อเงินด้วย พวกเขาใช้กระเป๋าสตางค์ที่สวยหรูและดูดี เพราะรู้ค่าของเงิน
  • เมื่อกระเป๋าสตางค์ของเรายาวและใบงาม เราจะเริ่มรู้สึก มองเห็นตัวเองมีชีวิตทางการเงินที่ดีคู่ควรกับกระเป๋าสตางค์ด้วย
  • การมีกระเป๋าใส่เหรียญ ช่วยให้เราใช้เงินฟุ่มเฟือยน้อยลง เพราะการหยิบเงินของเราเป็นเรื่องยุ่งยาก ไม่สะดวก เพิ่มขั้นตอนขึ้น
  • สิ่งสำคัญที่จะทำให้ตัวเรากลายเป็นที่รักของเงิน คือ เวลาใช้เหรียญ ต้องรู้จักใส่ใจ และพยายามใช้ในแบบที่ทำให้เหรียญมีความสุข
  • วิธีจ่ายเงินที่ทำให้เหรียญมีความสุข คือ การจ่ายเงินที่ทำให้ผู้รับเงินมีความสุข เช่น เตรียมเหรียญ เตรียมเงินจ่ายให้พอดี จะได้ลดภาระในการทอนของผู้ขาย
  • คนที่หาเงินเก่ง จะปฏิบัติต่อเงินที่มีอยู่ในมืออย่างรู้ค่า โดยหลักพื้นฐานคือ จะเก็บเงินในกระเป๋าสตางค์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยัดกระเป๋าสตางค์ลงในกระเป๋ากางเกงทั้งที่ธนบัตรโผล่ออกมา และไม่วางเงินทิ้งไว้บนโต๊ะหรือชั้นวาง
  • หากเป้าหมายของเรา คือ การเป็นคนที่หาเงินเก่ง สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ จัดระเบียบของในกระเป๋าสตางค์ ซึ่งเป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่อาจเปลี่ยนชีวิตได้อย่างมหาศาล
  • กฎพื้นฐานในการจัดระเบียบของในกระเป๋าสตางค์คือ ไม่ใส่ของที่ไม่ใช้วันนี้ลงไป และรักษากระเป๋าสตางค์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเสมอ
  • เวลาจ่ายเงิน พยายามขอสลิปหรือใบเสร็จให้ครบ เพื่อเอาไว้ตรวจสอบรายละเอียดในภายหลัง และย้ายมันออกไปเก็บที่กำหนดไว้
  • จัดระเบียบของในกระเป๋าสตางค์วันละ 1 ครั้งเป็นประจำทุกเช้า
    • ช่วยให้กระเป๋าสตางค์ของเราสะอาด
    • ช่วยให้เราได้ทบทวนการใช้จ่ายแต่ละวันของเรา และรู้ว่าเรากำลังใช้เงินแบบไหนอยู่
    • ช่วยให้เรารู้ว่า เราได้ใช้เงินไปแล้ว สิ่งนี้จะช่วยตระหนักถึงการใช้จ่าย และลดการใช้จ่ายไม่จำเป็นได้
  • หลักพื้นฐานของการเป็นคนเก็บเงินเก่ง คือ ต้องเห็นข้างในกระเป๋าสตางค์ได้ทั่ว เพราะจะรู้ว่าตัวเองใช้เงินไปมากน้อยแค่ไหน และเริ่มใส่ใจเรื่องเงินมากขึ้นกว่าเดิม
  • ความรู้สึกที่ไม่รู้สึกว่าได้ใช้เงินไปแล้ว ทำให้เราเห็นคุณค่าของเงินลดลง และใช้เงินอย่างไร้สติมากขึ้น เช่น การใช้เงินโดยไม่เห็นตัวเงิน (บัตรเครดิต บัตรเดรบิต)
  • ยิ่งเราสัมผัสถึงความรู้สึกว่าได้ใช้เงินไปแล้ว ได้ยากมากเท่าไหร่ เงินที่เรามีอยู่ในมือก็จะยิ่งลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ มากเท่านั้น
  • การลดจำนวนบัตรเครดิตลง เช่น จากมี 3 ใบ ให้เหลือ 1 ใบ จะช่วยลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้
  • คนที่หาเงินเก่ง ในกระเป๋าสตางค์ของพวกเขา จะไม่มีเผื่อพื้นที่ไว้สำหรับของที่อาจได้ใช้ หรือมีไว้แล้วอุ่นใจ
  • กฎหนึ่งกระเป๋าสตางค์ ใน 1 ช่องจะใส่บัตรได้แค่ 1 ใบเท่านั้น และจะไม่พกบัตรมากกว่าจำนวนช่อง
  • โดยพื้นฐานแล้วกระแสเงินสดส่วนบุคคล จะมีทิศทางการไหลจาก รายได้ –> รายจ่าย เป็นแบบนี้ซ้ำ ๆ เงินจะไหลเข้ามาและไหลออกไปอยู่ตลอดเวลา
  • ถ้าอยากจะออมเงิน หรือคิดอยากให้เงินหยุดอยู่กับเรา กุญแจสำคัญคือ จะต้องควบคุม และจำกัดทางออกของเงิน โดยเฉพาะบัตรเครดิต
  • การสัมผัสถึงความมั่งคั่งอยู่เสมอเป็นกุญแจสำคัญสำหรับชีวิตที่รู้สึกมั่งคั่งร่ำรวย
  • หนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของคนที่หาเงินเก่ง คือ พวกเขาใช้ข้าวของรอบตัวอย่างทะนุถนอม และพวกเขาทุกคนใช้กระเป๋าสตางค์อย่างทะนุถนอมเช่นกัน
  • การเปลี่ยนกระเป๋าสตางค์ มักจะเปลี่ยนแปลงชีวิตเราไปด้วย โดยเฉพาะถ้าเป็นกระเป๋าสตางค์ที่มีราคาแพง และมีคุณภาพสูง เราจะได้รับพลังที่สามารถเปลี่ยนความรู้สึกและพฤติกรรมได้
  • ของที่มีคุณภาพสูงจะเปลี่ยนท่าทีของเจ้าของได้
  • เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า เศรษฐีมักขี้เหนียว แต่คนที่หาเงินเก่งส่วนใหญ่ไม่ใช่คนขี้เหนียว แต่พวกเขาความเข้าใจเรื่องเงินแตกต่างจากคนทั่วไป
    • พวกเขาไม่เคยลืมว่า ไม่ว่าจะเป็นเงินก้อนโตแค่ไหน มันก็เกิดจากการรวมกันของเงินหน่วยเล็กที่สุด
    • เงิน 1,000 บาท ก็มาจาก เงิน 1 บาท 10 บาท 100 บาท มารวมกัน
    • เงินเกิดขึ้นจาก การคูณกันของตัวเลข
    • เงินไม่ได้เกิดมาอย่างโดดเดี่ยว เช่น เหรียญ 1 บาท x 1,000 = 1,000 บาท
    • รักษา ดูแลเงินทุกบาท ทุกสตางค์ เพราะรู้ว่า เงินเหล่านี้รวมกันเป็นเงินก้อนโตได้
    • ถ้ารักษาเงินจำนวนน้อยไม่ได้ เราก็จะไม่สามารถรักษาเงินก้อนใหญ่เอาไว้ได้อย่างแน่นอน
  • ถ้าเงินมีชีวิต มันย่อมอยากรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์และมีคุณค่า
  • หนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เรารู้ค่าของเงินมากขึ้น คือ การใช้เงินในแบบที่มีชีวิต
  • คนที่หาเงินเก่ง จะคิดเสมอว่า จะใช้เงินในแบบที่มีชีวิตได้อย่างไร และใช้เงินแบบไหนถึงจะทำให้เงินรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ และมีคุณค่าได้มากที่สุด
  • หนึ่งในกุญแจสำคัญของการเป็นคนที่หาเงินเก่งคือ การมีความรู้สึกที่เป็นบวกต่อเงิน (ปกติเรามักคิดว่าเรามีความรู้สึกที่เป็นบวกต่อเงิน แต่จริง ๆ แล้วเราอาจแค่รู้สึกว่าต้องพึ่งพาเงินเท่านั้น)
  • คนที่มีความรู้สึกเป็นบวกต่อเงินและรู้ค่าของเงินแล้ว กระเป๋าสตางค์ของพวกเขาจะดูสบายตา
  • การที่จะรู้ได้ว่าใครสักคนมีความรู้สึกเป็นบวกต่อเงินหรือไม่นั้น คือ คนคนนั้นกล้าให้คนอื่นดูกระเป๋าสตางค์ของตัวเองหรือเปล่า
  • บางครั้ง การซื้อของ ช่วยหนุนให้เราไปสู่ความสำเร็จได้ เช่น อยากหาเงินให้ได้ 1 ล้านบาทต่อปี ลองกัดฟันซื้อกระเป๋าสตางค์คุณภาพดี มันจะช่วยให้เรามีจิตใจที่ฮึกเหิมขึ้นได้ (นี่ถือเป็นวิธีการใช้เงินในแบบที่มีชีวิต)
  • กระเป๋าสตางค์เป็นสิ่งที่เราพกติดตัวทุกวัน ทุกครั้งที่จับกระเป๋าสตางค์ มันจะทำให้เรานึกภาพสิ่งที่อยากเป็น
  • ไม่ว่าจะเลือกซื้ออะไร ให้เลือกสิ่งของที่สามารถส่งผลต่อจิตใจของเราด้วย
  • ลองใช้เงินโดยใส่หัวใจลงไปด้วย เช่น เวลาจะซื้อแอปเปิล 1 ลูก ให้นึกว่า จะใช้แอปเปิลลูกนี้ ทำพายแอปเปิลอร่อย ๆ ให้ลูก ๆ ให้แฟนกิน ให้พ่อแม่กิน
  • เมื่อเราใช้จ่ายเงินพร้อมทั้งใส่หัวใจลงไปด้วย เราก็จะเกิดความรู้สึกอิ่มเอมใจที่ไม่อาจวัดได้ด้วยผลกำไรหรือผลจากทุน
  • วิธีการออม
    • ถ้าออมเงิน 1 บาท ไม่ได้ ก็จะออมเงิน 1 ล้านบาท ไม่ได้เช่นกัน
    • พื้นฐานของการออมเงิน คือ การกันเงินส่วนออมออกมาก่อน (เวลาที่มีรายได้เข้ามา เช่น เงินเดือน ก่อนอื่นเลยให้กันส่วนเงินออมเอาไว้ แล้วใช้ชีวิตในแต่ละวันด้วยเงินส่วนที่เหลือ)
    • สำหรับคนที่แค่เงินจะกินแต่ละเดือนก็ยากแล้ว ให้ลองออมวันละ 1 บาท
    • ถ้าคิดจะออมเงิน ให้ลงมือออมเงินทันที โดยไม่ต้องคิดอะไรให้ซับซ้อน
    • วิธีออมอีกแบบ คือ ให้เริ่มจากเงินจำนวนน้อย วันละ 1 บาท จากนั้นค่อย ๆ ขยับ ไป 2 บาท 3 บาทไปเรื่อย ๆ
  • อย่ามองว่า “เราเป็นเจ้าของเงินนี้” เงินเป็นสิ่งที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือตลอดเวลา
  • เงินที่เราใช้ตอนนี้ อาจจะกลายเป็นยอดขายของบริษัทที่ไหนสักแห่ง จากนั้นก็กลายเป็นเงินเดือนพนักงาน และถูกหมุนเวียนเปลี่ยนมือไปเรื่อย ๆ จนวนกลับมาเป็นรายได้ของเราอีกครั้ง
  • คนที่หาเงินเก่งส่วนใหญ่จะมีทัศนคติกับเงินว่า มันไม่ใช่เงินของเราตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เงินที่เรามีทั้งหมดตอนนี้เป็นของคนอื่นหรือสังคมนำมาฝากเอาไว้เท่านั้นเอง
  • พยายามรักษาระยะห่างจากเงินเอาไว้ เพราะจะช่วยให้เรา
    • ปฏิบัติต่อเงินด้วยดี ทะนุถนอม
    • ใช้เงินได้อย่างรู้ค่ามากขึ้น
    • ไม่ยึดติดในเงินมากเกินไป
    • ให้ความสำคัญกับเงินเท่า ๆ กันหมด
  • ถ้าคิดว่าเงินเป็นของเรา เราก็จะปฏิบัติต่อเงินอย่างไม่ทะนุถนอม และไม่เกรงใจ ในทางตรงกันข้าม หากคิดว่าเงินเป็น ลูกค้า อย่างน้อยเราจะรู้สึกอยากต้อนรับ และดูแลอย่างดี
  • กระเป๋าสตางค์ก็เปรียบเหมือนโรงแรมที่จะให้เงินเข้ามาพักผ่อน แล้วก็จากไป
  • เวลาที่หาเงินได้น้อยหรือไม่มีเงินให้ใช้จ่าย เรามักจะใช้เงินฟุ่มเฟือยมากขึ้น
  • เวลาที่หาเงินได้เยอะหรือมีเงินให้ใช้จ่ายมาก เราก็จะไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย
  • โดยพื้นฐานแล้ว วิธีปฏิบัติต่อเงินก็เหมือนกับวิธีที่เราปฏิบัติต่อคน ถ้าเรารู้สึกต่อเงินในแง่ลบ เราก็จะเหินห่างออกจากเงินไปเรื่อย ๆ
  • วงจรอุบาทว์ – รู้สึกต่อเงินในแง่ลบ –> ไม่ใส่ใจเรื่องเงินและใช้เงินฟุ่มเฟือยมากขึ้น –> เงินร่อยหรอลงไปเรื่อย ๆ
  • วงจรที่สร้างสรรค์ – รู้สึกต่อเงินในแง่บวก –> ใช้เงินฟุ่มเฟือยน้อยลง เพราะอยากใช้เงินอย่างรู้ค่า –> เงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • ถ้าอยากรู้สึกต่อเงินในแง่บวกให้ได้ เราก็ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีพูด
    • สมมุติว่าเจอของที่อยากได้ แต่มันราคาแพงมาก เงินไม่พอ ให้เปลี่ยนจาก “ซื้อไม่ไหว แพงขนาดนั้น ซื้อไม่ไหว เป็น ตอนนี้ยังไม่ซื้อ”
  • ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหน อย่าลืมที่จะทำให้ตัวเองรู้สึกมั่งคั่งด้วยการพูดว่า สักวันหนึ่งอยากจะมีไว้ แต่ตอนนี้ยังไม่จำเป็นเลยไม่ซื้อเท่านั้นเอง หรือขอฝากไว้ที่ร้านก่อนแล้วกัน
  • บางครั้ง การใช้เงินฟุ่มเฟือย ช่วยป้องกันไม่ให้เราใช้เงินฟุ่มเฟือยในอนาคตได้
  • ถ้าอยากใช้เงินฟุ่มเฟือยให้ได้ผลดีที่สุด คือ ห้ามใช้บัตรเครดิต ต้องจ่ายด้วยเงินสดเท่านั้น
  • การซื้อแต่ละครั้งเป็นการใช้เงินฟุ่มเฟือยหรือไม่ ให้ดูว่า เราซื้อเพื่ออะไร
  • คนที่หาเงินเก่งจะมีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมว่าตัวเองสามารถหาเงินได้
  • คนที่หาเงินเก่ง จะเชื่อว่าเงิน และโอกาสมีอยู่ทุกที่ เพียงแค่เราต้องลงมือทำเท่านั้นเอง
  • คนที่หาเงินเก่งที่สุดคือ คนที่อยู่ได้ แม้รายได้จะเป็นศูนย์
  • คนที่หาเงินเก่ง จะมีอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนเป็นเงินได้อยู่เสมอ เช่น ทักษะความสามารถที่เปลี่ยนเป็นเงินได้ตลอดเวลา
  • ถ้าไม่อยากขัดสนเรื่องเงิน เราต้องเชื่อมั่นว่า ตัวเองมั่งคั่งอยู่ตลอด นี่คือสิ่งที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้
  • จะมีเงินอยู่ในมือเท่าไหร่นั้นไม่สำคัญ ถ้าเชื่อมั่นว่าตัวเองมั่งคั่ง สุดท้ายเงินก็จะเข้ามาหาเราเอง

อ่านจบแล้ว รู้สึกยังไงบ้าง ช่วยบอกเราหน่อยครับ 🙏
39 responses
OMG
OMG
12
Love
Love
13
Like
Like
13
Sad
Sad
1
Dizzy
Dizzy
0
Sleepy
Sleepy
0